PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ลงเขา เบรคไหม้ !



vw_kwan
15-12-2009, 07:42
รถผม Plus 4Door A/T ด้วยความอ่อนด้อยประสบการณ์ในการขับลงเขาชันๆ ทำให้เลียเบรคจนควันขึ้นหลังจากลงมาที่ราบเกือบ10วินาที ควันเริ่มจางหาย...

...เนื่องมาจากพี่กระบะคันหน้าแตะเบรคตลอดทางที่ลงมาจากพระตำหนักเขาค้อทำให้ผมต้องแตะเบรคตาม เกียร์อยู่ที่ตำแหน่ง 2 จะเบี่ยงแซงไปก็กลัวจะไปเบรคกับอย่างอื่นแทน...ถามพี่ที่รู้จักกันเค้าก็แนะนำว่าถ้าลงเขาชันมากๆก็ยัดไปที่ L เลย แล้วก็เบรคให้รถหยุดหรือเกือบหยุดแล้วค่อยปล่อยให้ไหลลงไปต่อ จะช่วยไม่ให้เบรคต้องเสียดสีกันตลอดเวลาทำให้มีเวลาที่จะระบายความร้อนเป็นช่วงๆ ...แต่ถ้าไม่ติดรถคันหน้าผมคงไม่ต้องแตะเบรคตลอด แต่ก็ทำให้ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นมาอีก:i41:

เกือบลืมคำถามครับ...อาการเบรคจนควันขึ้นผมจะต้องตรวจเช็คระบบเบรคอย่างไรบ้างครับ กลัวพวกลูกยางลูกสูบและชิ้นส่วนที่เป็นยางต่างๆจะร้อนจนละลายเสียรูปไป หรือประสิทธิภาพของผ้าเบรคจะลดลง วันดีคืนดีอาจเกิดอาการ เบรคแตก กันไว้ก่อนดีกว่าครับ...ขอบคุณครับ

big_kub
15-12-2009, 08:03
ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆที่มาเล่าสู่กันฟังคับผมกำลังจะขึ้นดอยพอดีเลย

bomgrade
15-12-2009, 08:13
ถ้าไม่ชินทางก็ L ลงมาเลยดีกว่าครับ เพราะช่วยป้องกันการเกิดเบรกไหม้ได้ดีครับ ความเร็วอยู่ที่ 40 ควบคุมรถได้ดีแต่ถ้าทางโล่งๆ ก็เปลี่ยนมาเป็น 2 ครับ ถ้ามาเป็น 2 แล้วเจอโค้ง ให้แตะเบรกเพื่่อชลอความเร็วแล้วเปลี่ยนมาเป็น L ครับ รอบจะสูงสักนิดแต่ช่วยได้อย่างมากครับ

bomgrade
15-12-2009, 08:18
เอามาฝากครับ

การขับรถขึ้นเขาไม่เท่ากับการขับรถลงเขา ผู้ขับขี่จะต้องมีทักษะค่อนข้างสูงถึงจะสามารถควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย

ไม่เพียงแต่ผู้ขับขี่จะต้องมีทักษะที่ดีแล้ว รถยนต์ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การที่รถยนต์ขาดการบำรุงรักษา หรือ มิได้ใช้เวลานาน

ไม่เพียงแต่สมรรถนะจะไม่สมบูรณ์แล้ว ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้โดยเฉียบพลัน

ดังนั้น ทั้งผู้ที่ขับขี่และสภาพของรถยนต์ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับรถลงเขา


ผู้ขับขี่

การขับลงเขานั้น แน่นอนที่สุดรถจะพุ่งลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก ยิ่งเป็นทางตรงรถจะพุ่งเร็วและทวีคูณเพิ่มขึ้น

ถ้าเป็นทางโค้ง (ส่วนมากก็จะโค้ง) สภาพถนนคดไป-มา ก็มีความอันตรายอีก

ดังนั้น ผู้ขับขี่จะต้องควบคุมรถให้มีความปลอดภัยสูงสุด

สำหรับ ผู้ขับขี่มือใหม่ ไม่ควรขับขี่เด็ดขาด

ยกเว้น จำเป็นจริงๆ เพราะโอกาสการเกิดอุบัติเหตุสูงมาก ถ้าหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง

และในการขับขี่ ไม่ควรเหยียบเบรก หรือ แตะเบรกตลอดเวลา (ก็มีไม่น้อยที่กระทำเช่นนี้)

การกระทำเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีต่อระบบเบรก เพราะจะทำให้เบรก

ไหม้และเสียหายในที่สุด นอกจากนั้น จะทำให้น้ำมันเบรกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อลูกยางเบรก

ทำให้เสียหาย (เบรกแตก) และไม่สามารถทำการเบรกได้ในที่สุด

สังเกตไหมครับว่า ระยะทางที่ขับลงเขานั้น จะมีช่องทางพิเศษและช่องทางพิเศษนั้นเอาไว้สำหรับกรณีที่รถยนต์เกิดการเบรกแตก

หรือ เบรกไม่อยู่ เป็นที่

สำหรับเบรกฉุกเฉินนั่นเอง ไม่ว่ารถของคุณจะเป็นรถยนต์ราคาแพง เป็นรถใหม่ หรือ รถเก่า

ยังไงแล้วหนีไม่พ้น ถ้าคุณกระทำการเบรกเหมือนดังที่กล่าวมา

อ้าว! และจะทำอย่างไรดีหล่ะ?

ขณะที่รถยนต์ขับลงเขานั้น ให้ทำการเหยียบเบรกเป็นจังหวะ เพื่อให้รถชะงัก ก็จะช่วยในเรื่องของความเร็วรถได้

นอกจากนั้นให้ทำการลดเกียร์ (เชนเกียร์) ให้ต่ำลง ให้กระทำพร้อมกันไป

ก็จะช่วยในการบังคับและควบคุมรถยนต์ได้

ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ แบบมีโอเวอร์ไดรฟ์ (OVER DRIVE) ก็ให้กดปุ่มยกเลิกการใช้ OVER DRIVE

การทำเช่นนี้ส่งผลให้รถยนต์โดยเครื่องยนต์มีการ ENGINE BRAKE (เอ็นจิ้นเบรก) ใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก

แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบขั้นบันได (แบบหยักไปมา) ก็ให้เลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่งที่ต่ำลงตาม

ความเหมาะสมขณะนั้น ซึ่งเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกเช่นเดียวกัน

สำหรับรถยนต์เกียร์ธรรมดา ก็ให้ลดเกียร์ให้ต่ำลงตามความเหมาะสมในขณะนั้น

พร้อมกับการแตะเบรกเป็นจังหวะ (เหยียบและปล่อยโดยเร็วเพียงแค่หนึ่งครั้ง)

ก็จะช่วยให้รถยนต์เกิดการชะงัก การควบคุมรถก็ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าปล่อยให้รถยนต์ไหลลงไปเรื่อยๆ

ความเร็วก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย จนไม่สามารถ

ที่จะควบคุมหรือห้ามล้อได้ในที่สุด

ดังนั้น ผู้ขับขี่จะต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการขับรถลงเขา

ผู้ขับขี่จะต้องสังเกตป้ายเตือนต่างๆ ที่อยู่ระหว่างทาง นอกจากนั้นก็จะต้องระมัดระวังกับผู้ร่วม

ทางคันอื่นๆ อีกด้วย บางครั้งการขับขี่ของเราดีแล้วแต่ผู้ร่วมทางอื่นประมาท อาจส่งผลต่อการเดินทางของเราก็เป็นได้



รถยนต์

สภาพของรถยนต์ ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าผู้ขับขี่ มิฉะนั้น จะส่งผลต่อการเดินทาง

ยิ่งมีการขัดข้องเกิดขึ้นในระหว่างทาง ขณะอยู่บนเขาแล้วละก็ คุณจะทำอย่างไร

ไม่สามารถติดต่อใครได้ คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ก็ไม่มี หรือ เกิดในยามค่ำคืน

ดังนั้น ก่อนออกเดินทางควรตรวจสภาพของเครื่องยนต์

หรือ ซ่อมบำรุงก่อนออกเดินทางก็จะเป็นผลดีต่อตัวคุณและรถยนต์ของคุณ

ในรถยนต์ระบบที่สำคัญอย่างมาก

คือ ระบบเบรกไม่ว่าจะเป็นผ้าเบรก, จานเบรก, ลูกยางเบรก, น้ำมันเบรก เป็นต้น

เพราะการขับรถยนต์ลงเขานั้น จะใช้เบรกอย่างรุนแรงมากและบ่อยครั้งมาก

ถ้าระบบเบรกไม่ดีก็ส่งผลเหมือนดังที่กล่าวมาข้างต้น

สำหรับตัวเครื่องยนต์ ก็ต้องทำงานอย่างสมบูรณ์ เพราะต้องใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เพื่อควบคุม

หรือ บังคับให้รถยนต์มีความปลอดภัย เหมือนดังที่กล่าว

มาข้างต้น เช่นเดียวกัน

ส่วนระบบบังคับเลี้ยว ก็สำคัญแต่จะน้อยกว่าระบบเบรกและตัวเครื่องยนต์

เพราะจะต้องควบคุมรถยนต์ไปในทิศทางที่ต้องการ ถ้าเกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งชำรุดขณะขับขี่ โอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ผู้ขับขี่และตัวรถยนต์ มีส่วนสำคัญอย่างสูงมากในการขับรถยนต์ลงเขา

และการขับลงเขาไม่ควรใช้ความเร็วสูง (ถ้าเป็นไปได้) แต่เหนือสิ่งอื่นใด

ผู้ใช้รถทุกท่านควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางครับ





เครดิต : แผนกเทคนิคและฝึกอบรม บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)
เครดิิต : http://www.lancer-club.net/forum/index.php?topic=69344.0

bomgrade
15-12-2009, 08:28
เพิ่มเติมครับ

การขับรถขึ้นเขา
เช่นบนเขาค้อ เป็นพื้นที่ราบบนภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800-1000 เมตร ซึ่งอาจใช้รถยนต์
ที่มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 1500 ซีซี ขึ้นไปก็เพียงพอสำหรับการท่องเที่ยวอย่างสบายๆ

แต่สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญบางแห่งที่มีความสูงมากขึ้น โดยเฉพาะ 3 จุดหลัก คือ
1. อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ
2.พระตำหนักเขาค้อ
3. ภูทับเบิก
อาจต้องใช้กำลังของเครื่องยนต์มากขึ้น และต้องการผู้ขับขี่ที่มีความชำนาญพอสมควร
จึงควรศึกษาหลักการคร่าวๆ สำหรับการขับรถขึ้น-ลง พื้นที่ลาดชัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด
และเพื่อเป็นการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ของรถท่านเอง

หลักการขับรถขึ้นเขาคร่าวๆ พอสรุปได้ดังนี้ครับ

http://img368.imageshack.us/img368/6738/kc5umyb13fdeds4.gif ควรใช้เกียร์ต่ำ ปรับเปลี่ยนเกียร์เมื่อรถเสียกำลังอย่าลากเกียร์จนหมดแรงส่ง
ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เกียร์ 2 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง
เมื่อรถอยู่ในทางราบ การขับให้ใช้เกียร์ช่วยตลอดทางเกียร์อัตโนมัติไม่พังง่ายๆ

เมื่อขับลงเขาที่ลาดชันมากและยาวไกล ก่อนเข้าโค้งให้เปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง D มา 2
ถ้า 2 ยังเอาไม่อยู่ให้เปลี่ยนมา L แต่อย่าเปลี่ยนเกียร์ขณะฝนตกทางลื่นรถจะเสียการทรงตัว
การใช้เกียร์แต่ละเกียร์ควรดูสภาพทางเป็นหลักในการพิจารณา ส่วนเกียร์ธรรมดาการทำงานจะ
ง่ายกว่า มีเกียร์ให้เล่น 5 ตำแหน่ง และมีคลัทช์ช่วยในการส่งกำลังไปยังล้อตามที่เราต้องการ
ได้ทุกขณะ แต่เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นจะทำงานไม่ได้อย่างที่เราต้องการ
เพราะฉะนั้น ควรประเมินสภาพทางก่อนใช้เกียร์ดีที่สุด

การขับเข้าโค้งธรรมดาหรือบนภูเขา ควรมองให้ไกลให้ลึกและให้คนนั่งข้างช่วยดูสภาพทางด้วย
เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมาให้ใช้วิธีตัดโค้งวิธีนี้จะช่วยให้รถทรงตัวดี,เข้าโค้งได้เร็ว,รถไม่ใช้กำลัง
มาก ลูกปืนล้อมไม่ทำงานหนัก,ยางก็ไม่ล้มตัวมาก หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนได้มากตามไปด้วย
แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมา

สมมุติจะเข้าโค้งขวาก่อนเข้าโค้งให้ถอนคันเร่งลง หัดพวงมาลัยไปทางซ้ายนิดหนึ่ง
แล้วหักพวงมาลัยมาทางขวาเพื่อทำโค้งให้กว้างขึ้น ใช้พื้นที่ถนนทุกตารางนิ้ว
ถ้ารถจะเลี้ยวซ้ายก็ให้เลี้ยวทางขวานิดหนึ่งแล้วเลี้ยวซ้าย การฝึกใหม่จะรู้สึกฝืนความรู้สึกบ้าง
ถ้าขับชำนาญแล้วก็จะชินไปเอง

http://img368.imageshack.us/img368/6738/kc5umyb13fdeds4.gif การขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S มองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่าง
ไม่มีรถสวนมาให้ถอนคันเร่งลง แล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับเป็นเส้นตรงที่สุด
ง่ายไหม? ...ครับ แต่การขับรถลักษณะนี้ถ้าไม่แน่ใจเส้นทางข้างหน้าหรือทัศนวิสัยไม่ดี
ควรขับเข้าทางโค้งธรรมดา อยู่ในทางของเราเอง

การขับรถเข้าโค้งหักศอกขึ้นเขารูปฟันปลา
การขับแบบนี้ต้องให้ผู้ช่วยดูรถด้านซ้ายด้วยโดยมองถนนด้านบนก่อนว่าไม่มีรถสวนลงมา
กดแตรรถก่อนจะขับขึ้นไป หลักการขับก็เหมือนเข้าโค้งธรรมดา จะเลี้ยวซ้ายก็หักพวงมาลัยไป
ทางขวาก่อน แล้วหักพวงมาลัยไปทางซ้ายเข้าโค้งเมื่อรถเข้าโค้งล้อหน้าจะเกิดแรงต้าน
รถต้องใช้กำลังมาก ทำให้รถรถขับขึ้นได้ช้า ควรคืนพวงมาลัยกลับมาบ้าง และเร่งเครื่อง
ทำแบบนี้เป็นจังหวะไปมาจนพ้นโค้ง การขับลงโค้งแบบนี้อย่าใช้ความเร็ว ควรลงช้าๆ
ใช้เบรกช่วยชะลอความเร็วแต่อย่าเหยียบแรง ท้ายรถจะปัด ยิ่งหน้าฝนท้ารถจะปัดได้ง่าย
ถ้าท้ายรถปัดรถจะเสียการทรงตัว ให้หักพวงมาลัยไปทิศทางท้ายรถ เช่น เลี้ยวซ้ายท้ายรถปัด
ไปทางขวาก็ให้หักพวงมาลัยไปทางขวา เมื่อรถทรงตัวได้แล้วบังคับให้บังคับรถไปในทิศทางที่
ต้องการ ถ้าเอาไม่อยู่ให้เลือกทางภูเขาไว้ก่อน อย่าเลือกทางหน้าผาก็แล้วกัน

การเพิ่มระยะทางการเบรก การเบรกรถกะทันหัน รถเราอาจไปชนรถข้างหน้า
ควรเลี้ยวรถดึงพวงมาลัยไปทางไหล่ทาง หรือมีพื้นที่เพื่อเพิ่มระยะทางการเบรก

การขับรถบนภูเขาที่มีทางคดเคี้ยวไปมาเป็นเวลานานๆ เมื่อถึงทางตรงลงเขายาวไกล
อย่าขับเร็วเด็ดขาด คนขับส่วนมากจะขับเร็วรถมาก อันตรายมากนะครับทางแบบนี้
น้ำหนักรถ ความเร็ว ระยะทางถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น มีรถ,คน,ฯลฯ ขึ้นจากข้างทางหักหลบ
ไม่พ้นแน่ ถึงจะหักหลบได้แต่รถต้องเกิดอะไรแน่นอน ไม่พลิกคว่ำ แหกข้างทางเข้าป่า
หรือไม่ก็ชนรถที่วิ่งสวนมา

การขับในทัศนวิสัยไม่ดี ทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา
ต้องบีบแตรส่งสัญญาณทุกครั้งก่อนจะเข้าโค้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนมา
เนื่องจากคนที่ขับรถเจ้าถิ่นบนภูเขาเป็นประจำจะขับรถตัดโค้ง

ทางลูกรังหรือทางที่มีหินลอย ทางแบบนี้ถือได้ว่าเป็นทางปราบเซียน กลิ้งกันมาหลายคันครับ
การที่ล้อรถลอยตัวขณะวิ่งเข้าโค้งเราไม่สามารถบังคับได้อย่างที่ต้องการ
และการที่เราไม่คุ้นเคยกับเส้นทางมาก่อนก็ไม่ควรขับรถด้วยความเร็ว


ข้อควรระวัง
http://img183.imageshack.us/img183/5074/31540743qg8.gif 1.ขณะขับรถขึ้นทางชันหรือขึ้นเขา ควรเร่งความเร็วให้สม่ำเสมอ
เพิ่มกำลังเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวล แต่อย่าเบิ้ลอย่างรุนแรงนะครับ เพราะนอกจากความเร็วจะไม่
เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน ไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกด้วย

http://img183.imageshack.us/img183/5074/31540743qg8.gif 2. อย่าใช้เกียร์ว่างในขณะลงเนินชัน หรือลงเขาโดยเด็ดขาด!!
เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง โดยไม่มีแรงหน่วงของเครื่องยนต์
อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรใช้เกียร์ต่ำ ค่อยๆปล่อยรถให้ไหลลงเนินตาม
รอบเครื่องยนต์ และอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ ด้วยนะครับ

http://img183.imageshack.us/img183/5074/31540743qg8.gif 3. ควรใช้เกียร์ 1 หรือ เกียร์ 2 ในขณะขับรถขึ้นเขา
เพราะถ้าใช้เกียร์ที่สูง อย่างเช่นเกียร์ 3,4หรือ 5 จะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
และแรงฉุดมากพอที่จะเคลื่อนที่ขึ้นเนินเขา นอกจากนี้ยังทำให้ผลาญน้ำมันโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

เครดิต http://talk.mthai.com/topic/84201

coppy42
15-12-2009, 08:34
....วันหน้าวันหลังเจอคันอื่นทำอาการแแบนี้เค้าก็ออโตเหมือนกันละแต่คงจะอยู่ที่เกียร์Dตลอดรถเค้าก็คงเลยต้องกดเบรคตลอดทาง แล้วถ้าเราไม่กดแซงออกหน้าคันนั้นไปแบบมีเสี่ยงนิดๆเราก็จอดมันซะเลย ถือโอกาศถ่ายรูปชมนกชมไม้ดีกว่าปล่อยให้เค้าหายไปไกลๆ
....ผมก็ไปนอนที่ลานข้างพระตำหนักมาเมื่อ23ต.ค.ลงมายังต้องยัดเกียร์4L 4x4 เลยครับ(ออโต) ส่วนเรื่องชุดเบรค ก็ไม่น่าตกใจเพียงแค่อายุของยางโอริงในปั้มมันอาจอายุสั้นกว่าคนอื่นไปนิดๆเท่านั้นแต่ก็อีกหลายปียังไม่น่าตกใจเพราะหลังผ้าแผ่นดีสเบรคมีแผ่นรองเบื่อลดความร้อนเข้าสู่แม่ปั้มอยู่
....แต่ผ้าเบรคที่ไหม้มากๆนั้นมันก็ไม่ค่อยดี ส่วนผสมของเนื้อกาวกันผงผ้าเบรคคงกระด้างไปบ้างถ้าผ้าไม่ร่อนหลุดออกจากโคลงเหล็กแผ่นผ้าดีสก็ใช้ได้อยู่ แต่ถ้าไหม้น้อยเดี๋ยวใช้ไปเรื่อยๆหน้าผ้าก็สึกปรับหน้าผ้าไปเองครับ เพราะลงจากพระตำหนักเขาค้อมันไม่นานเท่าที่อ่างขางครับ...แค่นี้ก่อน..รอท่านอื่นมาตอบต่อ..

big_kub
15-12-2009, 11:14
เจ๋งเลยน้าบอมขอบคุณมากคับสำหรับข้อมูลที่ดีมีประโยชน์มากๆเอ้าใครจะไต่เขามาเตรียมความพร้อมกันคับ

iGnUs
16-12-2009, 09:02
ข้อมูลแน่นปึ้ก นำไปใช้ปฏิบัติได้ดีครับปกติผมก็ขับลักษณะนี้แหละ เวลาตัดโค้งรูปตัว S มันส์มากถ้าเข้าตรงไลน์ให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกมเลย อิอิ

เอก_ชภ9700
16-12-2009, 12:46
ผมเกียร์ธรรมดาครับ ขึ้นลงดอยอินทนน์บ่อย
ส่วนใหญ่ก็ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวฉุดรถตอนลงเขาครับ
เบรคจะเหยียบก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆครับ

อย่างเช่นสมมติความเร็วที่ 80 ตอนขาลง ผมก็ใส่เกียร์สี่ไม่ใช้เกียร์ห้า
เร็ว 60 ก็ใช้เกียร์สามแทนสี่

หลีกเลี่ยงการใช้เบรคเพร่ำเพรื่อ ให้ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วย
เพื่อป้องกันน้ำมันเบรคร้อนเกินอันทำให้เบรคแตก

และที่สำคัญห้ามใส่เกียร์ว่างลงเขาเป็นเด็ดขาด

Nuk_Black-Triton
16-12-2009, 13:07
ต้องนำไปเช็คระบบเบรคใหม่ก็จะดีครับ

ฝากเทคนิคเพิ่มเติม ครับ

การลงเขา ให้ใช้เกียร์ต่ำ แต่ไม่ใช่ต่ำมาก ให้รอบเครื่องอยู่ประมาณ 2500-3000 รตน (ในไทรทัน)

เพื่อใช้กำลังช่วยเบรคสูงสุด

การลงเนิน เบรคจะกระจายน้ำหนักไปข้างหน้ามาก ให้ใช่เบรคมือช่วย สักนิดหน่อย (กดปุ่มค้างไว้)

ถ้าไม่รู้ว่าทำยังไง ลองดูพวกรถดริฟ เขาทำกันครับ ดึงปล่อยๆ เรื่อยๆ ก่อนเข้าโค้งถ้ามาเร็ว

ให้แต่เบรคก่อนนิดนึง แล้วเลี้ยงคันเร่งกับเบรคมือ ในตำแหน่งเกียร์นั้นๆ (Hold เกียร์ไว้)

รับรองว่าเขาได้เร็ว แรง ปลอดภัย ที่สำคัญ มันส์ครับ

Nuk_Black-Triton
16-12-2009, 13:10
ให้รอบเครื่องยนต์ หมุนมั่ง สูงหน่อยก็ไม่เป็นไรครับ

ปลอดภัยกับชีวิต มากกว่าการกดเบรคยาวๆ นานๆครับ

W-ut
16-12-2009, 21:16
ต้องนำไปเช็คระบบเบรคใหม่ก็จะดีครับ

ฝากเทคนิคเพิ่มเติม ครับ

การลงเขา ให้ใช้เกียร์ต่ำ แต่ไม่ใช่ต่ำมาก ให้รอบเครื่องอยู่ประมาณ 2500-3000 รตน (ในไทรทัน)

เพื่อใช้กำลังช่วยเบรคสูงสุด

การลงเนิน เบรคจะกระจายน้ำหนักไปข้างหน้ามาก ให้ใช่เบรคมือช่วย สักนิดหน่อย (กดปุ่มค้างไว้)

ถ้าไม่รู้ว่าทำยังไง ลองดูพวกรถดริฟ เขาทำกันครับ ดึงปล่อยๆ เรื่อยๆ ก่อนเข้าโค้งถ้ามาเร็ว

ให้แต่เบรคก่อนนิดนึง แล้วเลี้ยงคันเร่งกับเบรคมือ ในตำแหน่งเกียร์นั้นๆ (Hold เกียร์ไว้)

รับรองว่าเขาได้เร็ว แรง ปลอดภัย ที่สำคัญ มันส์ครับ
หลังจากดึงเบลคมือแล้วพอกำลังจะเข้าโค้งให้ดึงเบลคมือหนักๆพอรถเริ่มเสียการทรงตัวแล้วปล่อย พร้อมหักพวงมาลัยไปทิศทางตรงกันข้ามกับโค้ง พร้อมเหยียบคันเร่งส่งสุดเท้าพร้อมประคองพวงมาลัย ให้อยู่ในไลด์ ให้ท้ายกวาดไปได้มากที่สุดแต่ไม่ให้ ขวางครับ
จบครับการลงเขา อากินะ จากทาคูมิ

teark
16-12-2009, 21:57
ข้อมูลแน่นๆ ขอบคุณครับ

bomgrade
17-12-2009, 08:15
หลังจากดึงเบลคมือแล้วพอกำลังจะเข้าโค้งให้ดึงเบลคมือหนักๆพอรถเริ่มเสียการทรงตัวแล้วปล่อย พร้อมหักพวงมาลัยไปทิศทางตรงกันข้ามกับโค้ง พร้อมเหยียบคันเร่งส่งสุดเท้าพร้อมประคองพวงมาลัย ให้อยู่ในไลด์ ให้ท้ายกวาดไปได้มากที่สุดแต่ไม่ให้ ขวางครับ
จบครับการลงเขา อากินะ จากทาคูมิ

อะจ้าก สุดยอดเลย หุ หุ เดี๋ยวจะลองเอาไปทำดูน่ะจ๊ะ ว่าแต่สเต๊ปนี้เอาไปใช้ที่พะเนินทุ่งได้ป่ะ

Alongkorn
17-12-2009, 08:30
1. ใช้เกียร์ต่ำตามความลาดชันของถนน
2. อย่าแตะเบรคแบบเลียเบรคซึ่งเป็นสาเหตุให้เบรคไหม้
3. เหยียบเบรคเป็นจังหวะตามความเร็ว ย้ำอย่าเลียเบรค
4. อย่าแตะเบรคตรงทางโค้ง
5. เครื่องคอมมอลเรลเวลาลงเขามันจะพุ่งลงเร็วมาก ไม่เหมือนเครื่องยนต์ระบบเก่า
6. ...