PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เทคนิคเลี้ยงลูกให้ถูกวิธี พ่อแม่ทุกคนควรรู้



Alongkorn
22-09-2011, 16:54
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2554 11:28 น.
เด็กทุกวันนี้ จะบอกว่ามีเพื่อนน้อยลงก็ไม่ผิดนัก เพราะในแต่ละวันมีสิ่งต่าง ๆ มาดึงดูดความสนใจของพวกเขามากขึ้นทุกที ทั้งการเรียน กวดวิชา ความเหนื่อยจากการเดินทางไปโรงเรียน ไหนจะเกมคอมพิวเตอร์ ทีวี อาหาร ฯลฯ โอกาสที่จะได้วิ่งเล่น หัวเราะ สนุกสนานกับเพื่อนจึงน้อยลงไปทุกที

วันนี้เราจึงชวนผู้ปกครองมาหาเพื่อนเล่นให้ลูกกันค่ะ ซึ่งเพื่อนที่เด็ก ๆ ควรมีนั้น ประกอบด้วย

1. เพื่อนในละแวกบ้าน
อาจเป็นลูกของเพื่อนบ้านที่สนิทกัน วัยใกล้เคียงกัน ที่สำคัญเพื่อนตามข้อ 1. นี้ จะสามารถเล่นกับลูกของเราได้ตั้งแต่เล็ก เพราะบ้านอยู่ใกล้ ๆ กัน เดินทางไปมาหาสู่สะดวก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพิจารณาอายุของเด็กด้วย ไม่ควรให้อายุห่างกันเกินไป เพราะเด็กที่โตกว่ามาก ๆ อาจรังแกเด็กเล็กได้ หรือบางทีเด็กโตกว่ามาก ๆ ก็เล่นคนละแบบกับเด็กเล็กแล้ว
การหาเพื่อนเล่นให้ลูกและเป็นเพื่อนที่มาจากละแวกบ้านนี้ พ่อแม่ควรตั้งกฎในการเล่น เช่น ต้องแบ่งของเล่นกัน ห้ามทำร้ายร่างกายกัน และคอยดูแลตามสมควร เผื่อเกิดมวยคู่เล็กจะได้เข้าไปแยกทัน

2. เพื่อนเพศตรงข้าม

การมีเพื่อนเพศตรงข้ามไม่ใช่เอาไว้ล้อว่าลูกมีแฟน หรือจับคู่ให้เด็ก ๆ ตั้งแต่เล็ก แต่เป็นการสอนให้ลูกรู้จักเพศตรงข้าม และเข้าใจในความแตกต่าง เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกันได้ ที่สำคัญ ผู้ใหญ่ต้องไม่ "ใส่" ข้อความในเชิงลบเกี่ยวกับเพศตรงข้ามให้กับเด็ก เพราะเด็กสามารถรับรู้ "สาร" เหล่านั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม

3. เพื่อนรักนักกีฬา
เด็กบางคนนั่งจมอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์ทั้งวัน การมีเพื่อนที่ชอบเล่นกีฬาจะช่วยดึงลูกเราให้มาสนุกสนานอยู่กลางสนามหญ้า รับแสงแดดแสงตะวันกับเขาได้บ้าง แต่เพื่อนกลุ่มนี้ก็มีสิ่งที่พ่อแม่ต้องระวังอยู่บางประการ เพราะเขาจะมีพลังงานล้นเหลือ ถ้าลูกคุณยังเป็นเด็กอ่อนแอ ไม่ค่อยมีแรง ก็อาจโดยเขาใช้กำลังธรรมดา ๆ ผลักล้มร้องไห้โฮได้ง่าย ๆ

4. เพื่อนที่อายุมากกว่า

เพื่อนคนนี้มีความสำคัญมาก เพราะเด็กที่อายุมากกว่า จะเป็นต้นแบบให้กับเด็กอายุน้อย ๆ ดังนั้น ถ้าลูกของคุณมีเพื่อนอายุมากกว่า และ "นิสัยดี อ่อนโยน" ลูกของคุณก็จะซึมซับเอาแบบอย่างดี ๆ มาไว้ในตัวด้วย

5. เพื่อนที่ลูกเลือกคบด้วยตนเอง
เพื่อน 4 สไตล์ด้านบนอาจเป็นเพื่อนที่คุณพ่อคุณแม่เลือกให้ หรือวางเส้นทางเอาไว้ให้มาเจอกัน แต่สำหรับข้อนี้ จะเป็นเพื่อนที่ลูกเลือกคบเองแล้ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่เองก็อย่าพึ่งตั้งกำแพง หรือมองเพื่อนที่ลูกเลือกคบในแง่ลบ แต่ควรมองอย่างเข้าใจ เพราะนี่เป็นการแสดงออกอีกอย่างหนึ่งว่า ลูก ๆ ของคุณเริ่มเติบโต และกำลังเลือกเส้นทางที่ตนเองต้องการเดินแล้วนั่นเอง

อย่างไรก็ดี เพื่อไม่เป็นการประมาทจนเกินไป หากลูกสนิทกับเพื่อนคนนี้มาก พ่อแม่ก็อาจลองไปทำความรู้จักกับครอบครัวของเพื่อนคนนี้ด้วยก็ได้ และควรให้เวลากับลูกมากขึ้น เผื่อมีสิ่งใดระหว่างลูกกับเพื่อน ลูกจะได้เล่าให้คุณฟังได้

เรียบเรียงจาก parenting

Alongkorn
22-09-2011, 17:00
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 สิงหาคม 2554 13:04 น.

5 กิจกรรมง่าย ๆ กระตุ้นพลังความคิดลูก
ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า สมัยนี้มีข้อมูลสำเร็จรูปเต็มไปหมด รวมทั้งอธิบายเหตุผลมาให้เรียบร้อยว่าควรเชื่อ
และควรทำตามเพราะอะไร ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้ใช้ความคิด แต่สำคัญผิดคิดว่า ตัวเองใช้ความคิด
แท้ที่จริงแล้วก็แค่เชื่อข้อมูลเท่านั้น

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระตุ้นลูกให้รู้จักคิดตั้งแต่เด็ก ซึ่งความคิดเป็นพลังสร้างสรรค์ที่ดี ทั้งต่อเด็ก
และบุคคลรอบข้าง แต่ก่อนที่เด็กจะเข้าใจเรื่องของทักษะความคิดที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยแบบอย่าง
และการสะสมประสบการณ์จากพ่อแม่ ซึ่งวิธีกระตุ้นความคิดให้กับเด็ก ๆ สามารถทำได้ด้วยกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
และทำร่วมกันได้ทั้งครอบครัว

โดย 5 กิจกรรมง่าย ๆ ที่ทีมงาน Life & Family ได้หยิบยกมาฝากกันในวันนี้ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยครับ

1. ชักจูงกันพูดคุยเล่าจินตนาการ
ทุกเรื่องที่ลูกพูดเป็นประจำกับคุณ ถึงแม้ว่าสิ่งที่ลูกคิด และสิ่งที่พ่อแม่ได้ยินอาจจะดูเหนือธรรมชาติ
ต่างไปจากความเป็นจริง แต่ถ้าลองคิดตามแล้วฟังเสียงเล็ก ๆ ของลูกก็จะสัมผัสได้ว่า
เขามีความคิดเช่นไร มีความสนใจต่อสิ่งใด และโลกในจินตนาการที่แฝงไปด้วยความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้น
จะเป็นคำตอบนำพาให้ครอบครัวทราบว่า จะสามารถต่อยอดความคิดให้กับลูกได้อย่างไร
หรือพัฒนาความสามารถต่อไปได้เช่นใด

How to

สังเกตว่าลูกสนใจสิ่งใดเป็นพิเศษ เพื่อคอยสนับสนุนให้ลูกได้เรียนรู้ สัมผัสจากของจริงในสิ่งที่ถูกต้อง
อาทิ ลูกชอบการปั้น การสร้างหุ่นยนต์ ก็อาจพาลูกไปดูการแข่งขันหุ่นยนต์
หรือเข้าชมแหล่งสะสมหุ่นยนต์ในสถานที่ต่าง ๆ

2. ชักจูงกันอ่านหนังสือ
วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การอ่านนิทานที่ลูกชอบ และตั้งคำถามเพื่อให้ลูกได้ฝึกความคิด ในขณะที่พ่อแม่เป็น
ฝ่ายสนับสนุนโลกในจินตนาการของเด็กอย่างถูกต้อง คือ ตอบในสิ่งที่ลูกชอบ และตอบด้วยความจริง
อีกทั้งเสริมสร้างความคิดในมุมบวกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลูกได้คิด รู้จักแสดงความคิดเห็น

How to

พยายามตั้งคำถามบ่อย ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดของตัวเอง และในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่
สามารถสอดแทรกความคิด ร่วมกับอธิบายสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ลูกก็ได้เรียนรู้
พร้อมรับฟังเหตุผลของผู้อื่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน

http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1986806 http://www.manager.co.th/images/blank.gif
3. ชักชวนให้ทำงานบ้าน

การให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการทำความสะอาดบ้าน อาทิ กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ เมื่อลูกทำเสร็จก็แสดงความชื่นชม
เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเอง และหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มความรับผิดชอบ
ให้มากขึ้นตามความเหมาะสม

How to
พยายามให้ลูกคิด และทำกิจกรรมแต่ละอย่างให้สำเร็จด้วยตัวเอง เมื่อลูกทำได้ก็ควรชื่นชม
เพื่อให้รู้สึกภาคภูมิใจ และอยากทำสิ่งอื่น ๆ ด้วยตัวเองต่อไป

4. คิดคำถามให้ลูกตอบ เพื่อพิจารณาไอคิว/อีคิว
ระหว่างที่ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดคำถามง่าย ๆ ของสถานการณ์บางอย่าง
เพื่อสำรวจความคิดของลูก เช่น กรณีลูกถูกรังแก มีเพื่อนแย่งของเล่นจะทำเช่นไร โดยสิ่งที่คุณตั้งคำ
ถามนั้นก็เพื่อจะได้ทราบว่า ลูกจะสามารถจัดการกับปัญหาได้หรือไม่ และมีวิธีคิดอย่างไร

How to

ควรให้เด็กฝึกคิดแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เพื่อจะได้ทราบว่า ชีวิตคนเราต้องมีอุปสรรค ปัญหา
และความผิดหวัง แต่สิ่งสำคัญ คือ การยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม

5. ชวนดูข่าวหรือสารคดีที่เหมาะสม
นำเรื่องราวที่ดูร่วมกันมาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ถือโอกาสนี้ สอดแทรก
ทัศนคติที่ดี หรือวิธีคิดที่เป็นบวกบนหลักเหตุ และผลให้กับลูก เมื่อฝึกบ่อย ๆ วิธีคิดเหล่านี้ก็จะถูกหล่อ
หลอมให้กับเด็กไปโดยปริยาย

How to

สอนให้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และให้เด็กทราบว่าในเรื่องเดียวกัน ความคิดเห็นของแต่ละคนอาจ
แตกต่างกันได้ แต่ความคิดนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
มีเหตุผลและความดีงามไปพร้อม ๆ ด้วยกันนะครับ

ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ หรือผู้อ่านท่านใดมีกิจกรรมนอกเหนือจาก 5 กิจกรรมข้างต้น
เข้ามาบอกเล่ากันได้ ทีมงานยินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณมากครับ

Alongkorn
22-09-2011, 17:05
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2554 16:02 น.

มากระตุ้นสมองลูกให้ฉลาด (อย่างถูกวิธี) กันเถอะ
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1965197 พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ http://www.manager.co.th/images/blank.gif http://www.manager.co.th/images/blank.gif
ทุกวันนี้ ปฏิเสธได้ยากว่า หัวข้อการกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองของลูก
เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนให้ความสนใจกันมาก
แต่ทว่าบางคนในจำนวนหลายคนนั้น ยังขาดความรู้ความ
เข้าใจที่ถูกต้องจนนำไปสู่การกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างไม่ ถูกทาง

บอกเล่าได้จาก พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นายก
สมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็ก และครอบครัว หนึ่งในกลุ่ม
ผู้บุกเบิกงานวิจัยเรื่องสมองเด็กไทย ที่มองว่า คุณพ่อคุณแม่
จำนวนไม่น้อยเลี้ยงลูกผิดวิธี ส่งผลให้เด็กยิ่งเติบโตพัฒนาการ
ด้านต่าง ๆ ยิ่งลดต่ำลง

"ตอนนี้เราฝึกเด็กแบบไม่ ประณีต ชุ่ย ๆ แบบสำเร็จ
รูป บางคนเลี้ยงลูกด้วยโทรทัศน์ แต่หารู้ไม่ว่า โทรทัศน์ไป
ทำลายสมองส่วนหน้า ทำให้เด็กเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ
ไม่ชอบคิด และกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น" พญ.จันทร์เพ็ญกล่าว
ไว้ในงานอบรม อ่านสมอง ช่องทางสร้างเด็กฉลาด Smart
Kids จัดโดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก และบริษัทแปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด

สอดรับกับงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่เปรียบเทียบระดับไอคิวของเด็กที่ดูโทรทัศน์วันละ 1 ชั่วโมงกับ
เด็กที่ไม่ดูโทรทัศน์เลย พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ระดับพัฒนาการของเด็กที่ดูโทรทัศน์จะต่ำกว่าเด็ก
ที่ไม่ดูอย่างชัดเจน

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจพัฒนาการของลูก ด้วยการพูด และอ่านหนังสือกับลูกบ่อย ๆ รวมทั้ง
เด็กก่อน 6 ขวบควรได้สัมผัสของจริงมากกว่าการดูจากโทรทัศน์ เพราะจะเป็นพื้นฐานต่อยอดให้เด็กเข้า
ใจความหมายที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น ที่สำคัญความอ่อนโยน ละเมียดละไมจากสัมผัส และน้ำเสียงของ
พ่อแม่จะเป็นแรงกระตุ้นวงจรในสมองเด็ก ทำให้ลูกเติบโตอย่างสวยงาม และมีความฉลาดทางอารมณ์


http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1965196 ขอบคุณภาพประกอบจากรพ.มนารมย์ http://www.manager.co.th/images/blank.gif
อย่างไรก็ดี พญ.จันทร์เพ็ญ มีข้อแนะนำในทางปฏิบัติ ให้คุณพ่อคุณแม่นำไปช่วยลูก
ปฐมวัย หรือก่อน 6 ขวบเพื่อกระตุ้นสมอง และพัฒนาการทางภาษาอย่างถูกวิธี
ตามแนวทางดังต่อไปนี้

- คุยกับลูกอย่างสนุกสนาน ลูก ต้องคุ้นเคย และได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่บ่อยที่สุดเท่าที่จะ
บ่อยได้ บอกเขาว่า คุณคือใคร คุณกับลูกอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ และอธิบายถึงสิ่งรอบตัวที่ลูกเห็น
ได้ยินเสียง และสัมผัสได้ เริ่มจาก สิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว ไปสู่สิ่งที่ใหญ่ขึ้น และไกลตัวออกไป รวมถึงการ
ทักทายเด็กตั้งแต่ตื่นนอนเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับโอบกอด หอมแก้ม หรือหยอกล้อไปด้วยจะยิ่ง
กระตุ้นสมองมากขึ้น

http://www.manager.co.th/images/blank.gif http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1965195 ขอบคุณภาพประกอบจากรพ.มนารมย์ http://www.manager.co.th/images/blank.gif
- รับฟังลูกอย่างอดทน และตั้งใจ แม้ในช่วงแรก ๆ จะ
ยังไม่เข้าใจภาษา หรือคำพูดที่ลูกใช้ แต่เมื่อลูกรับรู้ว่ามีคนตั้งใจ
ฟังเขา จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาอยากฝึกออกเสียง หรือเปล่งคำ
พูดใหม่ ๆ มากขึ้น และอย่าเบื่อที่จะตอบคำถามลูก เพราะการ
ขยันตอบคำถามลูกวัยเด็กเล็กก็เพื่อกระตุ้นสมองให้เด็กเป็นคน
กล้าคิด ทำให้เกิดวงจรเรียนรู้แบบถาวร

- ให้เวลาลูกตอบสนองหรือตอบคำถาม เพราะต้องไม่
ลืมว่าเด็กเล็ก ๆ ต้องการเวลาทำความเข้าใจ เพื่อเรียบเรียงความ
คิดก่อนที่จะสามารถสื่อสารกับคุณได้ ดังนั้นอย่าใจร้อน เร่งรัด
หรือพูดแทน หรือพยายามเติมคำในช่องว่างเวลาที่ลูกพูดกับเรา
ควรให้เขาได้พยายามคิด และพูดออกมาด้วยตัวเอง

- พูดคำง่าย ๆ สั้น ๆ และช้า ๆ เพราะในสมองลูกยังมีคำ
จำกัด อายุเขาต่างจากเรามาก ความเข้าใจในถ้อยคำต่าง ๆ จึงยัง
มีไม่มาก หากต้องอธิบายอะไรให้ลูกเข้าใจ ต้องปรับประโยคให้
ง่าย สั้น ชัดเจน พูดทีละเรื่อง แล้วลูกจะเรียนรู้คำต่าง ๆ ได้รวด
เร็ว

- ตอบสนอง และชื่นชมกับความพยายามของลูกที่จะสื่อสารกับเรา ไม่จำเป็นต้องคอยแก้ไข
คำพูดที่ลูกพูดผิด แต่สิ่งที่ควรทำคือ ทบทวนคำ หรือประโยคที่ลูกพูดให้ถูกต้อง เช่น ลูกพูดว่า "แม่ไป
หลาด" แทนที่จะตำหนิว่า "ไม่ใช่ ๆ ลูกพูดผิด" ควรทวนโยคของลูกด้วยประโยคที่ถูกต้อง คือ "จ้ะ แม่
ไปตลาด"

- เล่าให้นิทานให้ลูกฟัง ลอง คิดเรื่องขึ้นเอง เด็กเล็กชอบฟังเรื่องที่มีตัวเขาเป็นผู้แสดง หรือ
เกี่ยวกับเรื่องที่เขาคุ้นเคยในกิจวัตรประจำวัน อ่านหนังสือกับลูกทุกวัน พูดคุยกับเขา อธิบายรูปภาพ สี
รูปทรง จำนวน และคำต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่ในหน้าหนังสือ เชื่อมโยงภาพเข้ากับคำ ทั้งนี้ยังสามารถใช้งาน
ศิลปะง่าย ๆ เช่น ปั้นแป้งโด ใช้สีเทียนแท่งโต ๆ วาดภาพขณะที่อ่านหนังสือ และคุยกับลูกไปพร้อม ๆ
กันก็ได้

ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกฉลาด ทำได้ไม่ยาก คุณพ่อคุณแม่ต้องขยันตั้งใจจริง ที่สำคัญต้องมี
ความรักเป็นองค์ประกอบเสมอครับ

num_navanakorn
22-09-2011, 17:05
ขอบคุณครับ....

Alongkorn
22-09-2011, 17:11
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กันยายน 2554 11:48 น.

คุณเป็นพ่อแม่ที่ทำให้ลูก ๆ ไม่อยากคุยด้วยหรือเปล่า

http://pics.manager.co.th/Images/554000012733101.JPEG ขอบคุณภาพประกอบจาก ehow.com http://www.manager.co.th/images/blank.gif http://www.manager.co.th/images/blank.gif

เมื่อพูดถึงการสื่อสารในครอบ ครัว ถือเป็นเรื่องสำคัญที่หากสื่อสารไม่ดี อาจสร้าง
ปัญหาตามมาได้ โดยเฉพาะการคุยกับลูกวัยรุ่นที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักคุยไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือมี
ปัญหาการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดเป็นช่องว่าง และอคติจนทำให้พ่อแม่ และลูกไปกัน
ไม่ค่อยได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงตามมา เช่น เด็กหนีออกจากบ้าน หรือน้อยใจคิด
สั้นทำร้ายตัวเอง เป็นต้น

วันนี้ เพื่อเป็นการเตือนตัวคุณเองในฐานะพ่อแม่ ทีมงาน Life & Family มี ข้อมูลดี ๆ จาก
องค์กรแพธ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ถึงการใช้คำพูดของพ่อแม่ที่อาจสร้างความรู้สึกไม่ดี
จนทำให้ลูก ๆ ทั้งหลายไม่อยากคุยด้วยมานำเสนอกัน ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันครับ

พ่อแม่ที่ใช้ประโยคคำพูดที่ทำให้ลูกรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังถูก "ตำหนิ"

การใช้ถ้อยคำรุนแรง แสดงท่าที น้ำเสียง อารมณ์ ที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่ดี หรือรู้สึกว่าถูกกล่าวหา
ไปแล้ว โดยไม่ได้ต้องการคำอธิบาย เช่น

- ใช้คำพูดจับผิด ใช้คำพูดดักคอ ใช้ประโยคคำสั่ง เช่น "บอกมานะว่า..." หรือ "อย่าให้รู้เชียวนะ"

- ใช้การถามนำ ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายอธิบาย เช่น ประโยคที่ลงท้ายว่า "..ใช่หรือเปล่า"

- ท่าที กิริยาอาการแสดงออกชัดเจนว่า "ไม่ยอมรับฟัง"

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ ที่ทำให้ลูก ๆ ไม่ค่อยอยากคุย และไม่อยากเล่า
อะไรให้พ่อแม่ฟัง เช่น

- ไม่มีการใช้คำพูดที่แสดงถึงความห่วงใย เช่น "แม่เสียใจที่เห็นลูกใช้เงินเปลือง ลูกรู้ไหมว่า
เงินทองเป็นของหายาก แม่เหนื่อยมากกว่าที่จะหามาให้ลูกใช้ได้" หรือ "พ่อไม่สบายใจเลยที่ลูกใช้เงิน
แบบนี้ มีปัญหาอะไรบอกได้ไหม" แต่มักจะใช้คำพูดที่ห่วงแต่ดุ เช่น "กล้าดียังไงเอาเงินที่พ่อแม่หาให้
ไปเลี้ยงไปเที่ยวกับแฟนทั้งที่ตัวเองไม่ มีปัญญาหาเงินเอง"

ดังนั้น ควรเริ่มด้วยประโยคที่ทำให้ลูกรู้ว่าคุณเป็นห่วงจริง ๆ เช่น ถ้าลูกกลับบ้านดึก ประโยคแบบนี้
ที่ลูกอยากได้ยินจากคนเป็นพ่อแม่

"เป็นอย่างไร เหนื่อยไหม วันนี้กลับดึกจังนะลูก" หรือ "การบ้านเยอะเหรอ ถึงได้กลับมาช้า เป็น
ห่วงแทบแย่"

ถ้าลูกเก็บตัวเงียบขรึมผิดปกติ ประโยคแบบนี้ที่ลูกอยากฟังจากปากพ่อกับแม่

"ดูท่าทางเหนื่อย ๆ นะ เรียนหนักไหม การบ้านเยอะหรือเปล่า" หรือ "กินข้าวน้อยจัง ไม่สบาย
หรือเปล่า" หรือ "อยู่แต่ในห้องทั้งวัน เมื่อคืนนอนดึกเหรอ"

ที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อต้องการคุยกับลูก อยากรู้สาเหตุว่าทำไมลูกกลับบ้านดึก หายไปทั้งวัน
หรือเอาแต่เก็บตัวเงียบ คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย

- อย่าคิดเอาเองว่า ลูกจะต้องไปทำอะไรไม่ดี

- อย่าดักคอลูกด้วยการพูดจาถากถางประชดประชัน

- อย่าตั้งคำถามว่า "ทำไม" ตลอดเวลา

- ไม่มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้โอกาสอีกฝ่ายได้ตอบแบบอธิบาย หรือเปลี่ยนจาก
ประโยคบอกเล่า เป็นคำถาม เพื่อเปิดให้มีการพูดคุยกัน เช่น "ไหนลองบอกเหตุผลให้ฟังหน่อยว่าทำ
แบบนั้นเพราะอะไร" หรือ "พ่ออยากรู้ว่าอะไรทำให้แกคิดแบบนั้น" แต่ส่วนใหญ่มักจะพูดกับลูก
ว่า"...เออ ถ้าเกิดปัญหาขึ้น ก็อย่ามาให้พ่อ/แม่แก้ให้แล้วกัน..."

http://pics.manager.co.th/Images/554000012733102.JPEG ขอบคุณภาพประกอบจาก theglobeandmail.com

- ไม่มีการใช้คำพูดที่บอกความต้องการชัดเจนว่าผู้พูดต้องการเห็นพฤติกรรมอะไร เช่น
"ถ้าจะกลับบ้านดึก ต้องโทรบอกก่อนล่วงหน้า แม่จะได้ไม่ต้องเป็นห่วง" หรือ "ลองบอกสิว่าอยากให้
พ่อแม่ทำยังไงกับเรื่องที่ลูกไม่โทรมาบอกล่วงหน้าว่าจะ กลับบ้านดึก" แต่ที่พบส่วนใหญ่มักใช้คำพูดที่
ว่า "....ทำไมเพิ่งกลับ ไปไหนมาไหน ทำไมไม่เคยบอกกล่าวกันเลย..."

- ไม่มีการให้เหตุผลที่ชัดเจนเมื่อไม่เห็นด้วยกับการกระทำของอีกฝ่าย เช่น "พ่อไม่สบาย
ใจที่เห็นลูกแต่งตัวแบบนี้ ลูกกำลังจะไปไหนเล่าให้พ่อฟังก่อน" แต่ส่วนมากมักใช้คำพูดที่ว่า "...จะบ้า
หรือเปล่า เป็นผู้หญิงใส่กระโปรงสั้นจู๋แบบนี้ แล้วจะออกไปข้างนอกได้ยังไง..."

- ไม่ค่อยมีการขอความเห็นจากอีกฝ่ายว่าต้องการเห็นทางออกอย่างไรบ้าง เช่น "ถ้าจะ
ทำให้ลูกกล้าบอกพ่อตรงๆ ว่าไปทำอะไรมาลูกอยากให้พ่อทำตัวยังไง" แต่ส่วนมากจะขึ้นเสียงด้วย
ประโยคที่ว่า "...อย่าให้รู้เชียวว่าโกหก..."

นอกจากนี้ การไม่ฟังลูกพูดเลย ก็อาจทำให้ลูกไม่ค่อยอยากคุยกับคุณก็เป็นได้ เนื่องจากเด็ก ๆ
มักบ่นว่า พ่อแม่ไม่เคยฟังว่าเขามีปัญหาอะไร ชอบบ่น ด่าแต่เรื่องซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่กลับว่าลูกว่า "พูด
เท่าไหร่ก็ไม่ฟัง" ดังนั้นการที่ลูกไม่ฟัง ก็เพราะพวกเขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้พูดหรือสั่งสอนด้วยการให้
ความรู้ หรือบอกเล่าเรื่องราว แต่เป็นการ "ใช้อารมณ์ลงกับลูก"

ในเรื่องเดียวกันนี้ ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ ประจำคณะ
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิชาการด้านสังคม พร้อมคณะ ได้เคยทำการสำรวจ
ความคิดเห็นของวัยรุ่นว่า เขาอยากฟังอะไรจากพ่อแม่บ้าง โดย 100 คำพูดดี ๆ ที่พ่อแม่ควรพูด 3
อันดับแรกสูงสุดที่เด็ก ๆ อยากได้ยิน คือ

1. พูดด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ อ่อนหวานน่าฟัง

2. พูดให้กำลังใจ ไม่เป็นไรทำใหม่ได้

3. ให้คำปรึกษาหารือ เช่น ปรึกษาพ่อแม่ได้นะลูก ทำดีแล้วลูก ดีมากจ้ะ เป็นต้น

ทั้งนี้ ดร.สมพงษ์ให้แนวทางเพิ่มเติมว่า คนเป็นพ่อแม่ไม่ควรใช้คำว่า "ห้าม" กับลูกวัยรุ่นมากเกิน
ไป เพราะผลการศึกษาพบเด็กสารภาพว่า ถ้าการขออนุญาตกระทำสิ่งใดแล้ว พ่อแม่ห้าม เขาจะทำใน
สิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะอยากท้าทาย และอยากรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร

ดังนั้น พ่อแม่ยุคนี้ต้องฟังลูกให้มาก บ่นให้น้อยลง อยู่กับเขาอย่างใจเย็น พูดคุยด้วยการ
ดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่า คำพูดรุนแรงที่อาจสร้างความรู้สึกไม่
ดีให้กับลูก 3 อันดับแรกคือ พูดคำหยาบ คำไม่สุภาพ ตามมาด้วย การด่าทอ พูดเสียงดังโหวก
เหวก พูดจาแดกดัน ไม่ยอมรับฟังเหตุผล

เมื่อรู้แบบนี้ ถึงแม้ว่าลูกจะโต และดื้อขนาดไหน ก็ไม่ยากเกินกว่าที่พ่อแม่จะพิชิตใจได้

http://www.manager.co.th/images/blank.gif

decskong
22-09-2011, 17:17
ขอบคุณครับป๋า จะนำไปปฏิบัติครับ

decskong
22-09-2011, 17:21
ขอบคุณครับป๋า เยี่ยมครับ

fear_dark
22-09-2011, 17:50
ขอบคุณครับป๋า.......สำหรับข้อคิดที่ดีและมีประโยชน์ครับ

ภูรีภัทร
22-09-2011, 18:26
ขอบคุณครับสำหรับแนวทางสอนลูกสมัยใหม่
สิ่งที่จำได้จากอาจารย์ในรายการชูรักชูรสที่อยากมาแบ่งปันพ่อแม่ คือ "เด็กยังไม่เคยเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่เคยเป็นเด็กมาก่อน ดังนั้นผู้ใหญ่ควรย้อนเวลาดูความรู้สึกที่เคยเป็นเด็กมาก่อนว่าต้องทำอย่างไร"

chaiyasit
22-09-2011, 19:12
มีประโยชน์มากครับป๋าขอบคุณครับ..

Omaoey
22-09-2011, 19:17
ขอบคุณครับป๋าที่ให้แง่คิดดีๆครับ และควรนำไปใช้อย่างยิ่ง

TOD Triton
22-09-2011, 19:29
เยี่ยมครับ

kong22
22-09-2011, 20:15
ขอบคุณครับป๋ามีประโยชน์มากครับ

kong22
22-09-2011, 20:22
ขอบคุณครับป๋าผมเป็นคนหนึ่งละที่ปล่อยแต่ลูกเล่นและดูแต่ทีวี ต้องให้เวลากับลูกเพิ่มแล้วละงานนี้ ขอบคุณอีกครั้งครับป๋า

Alongkorn
23-09-2011, 07:46
ทุกเรื่องมีประโยชน์สำหรับพ่อแม่ทุกคน และว่าที่พ่อแม่ด้วย
ถ้าอยากให้ลูกของเราเป็นเด็กฉลาด ครบถ้วนทั้ง eq และ iq
ถ้ารักลูกควรเข้ามาศึกษา

NANEK
23-09-2011, 08:57
ขอบคุณมากๆเลยครับป๋า เป็นประโยชน์ต่อพ่อแม่มากครับ