PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : กติกาการแข่งขันกีฬาเครื่องบินเล็กบินผาดแผลงบังคับว ิทยุกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่



ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:45
กติกาการแข่งขันกีฬาเครื่องบินเล็กบินผาดแผลงบังคับวิทยุกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่๒๕ กาญจนบุรีเกมส์

(สำหรับนักกีฬาและผู้ฝึกสอน)

1. ข้อบังคับทางเทคนิคสำหรับการแข่งขันเครื่องบินเล็กบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ

1.1.คำนิยามของเครื่องบินเล็กผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ
คือเครื่องบินเล็กที่ไม่ใช่เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งทำท่าบินในอากาศโดยพื้นที่ (แผ่น) บังคับสำหรับกำหนดการวางตัวของเครื่องบิน ทิศทางและความสูง โดยนักบินซึ่งอยู่บนพื้นดินผ่านทางวิทยุบังคับ

1.2. คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องบินเล็กบินผาดแผลง
กางปีก ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 2 เมตร)
ความยาว ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 2 เมตร)
น้ำหนัก ไม่จำกัด (เอฟ 3 เอ ไม่เกิน 5 กิโลกรัม โดยไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง)

ข้อจำกัดด้านเครื่องยนต์ : ใช้เครื่องยนต์ใดก็ได้ที่เหมาะสม ยกเว้นเครื่องเครื่องที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ก๊าซ หรือก๊าซเหลว เครื่องที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกจำกัดแรงดันไฟฟ้าไม่ให้เกิน 42 โวลต์สำหรับวงจรขับเคลื่อนระดับความดังเสียง ไม่เกิน 94 dB (A) ที่ระยะวัด 3 เมตรจากศูนย์กลางของตัวเครื่องบิน โดยเครื่องบินวางอยู่บนพื้นคอนกรีตหรือพื้นหินอัดในสถานแข่งขัน โดยวัดเมื่อเครื่องทำงานเต็มที่ในแนว 90 องศาด้านขวาใต้ลมของเส้นแนวบิน ไปโครโฟนจะอยู่สูง 30 เซนติเมตรจากพื้น จะต้องไม่มีสิ่งที่สะท้อนเสียงอยู่ในระยะใกล้กว่า 3 เมตรจากเครื่องบินหรือไมโครโฟน การวัดเสียงจะทำก่อนการบินทุกๆเที่ยว ถ้าไม่มีพื้นคอนกรีตหรือพื้นหินอัดก็อาจทำการวัดเสียงบนพื้นดินเปล่าหรือบนพื้นหญ้าสั้นๆ ซึ่งในกรณีนี้ความดังของเสียงต้องไม่เกิน 92 dB (A)

ในกรณีที่เครื่องยินไม่ผ่านการวัดเสียง จะไม่มีการบอกให้นักบินและ/หรือทีมของนักบินหรือกรรมการผู้ตัดสินทราบ แต่เครื่องบินกับเครื่องส่งวิทยุจะถูกยึดเก็บรักษาไว้โดยกรรมการผู้ควบคุมสนามทันทีหลังจบเที่ยวบิน ไม่อนุญาตให้ทำการใดๆเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับเครื่องบิน (ยกเว้นการเติมน้ำมัน) และหากเครื่องบินยังไม่ผ่านการทดสอบใหม่นี้ คะแนนของเที่ยวบินที่จบลงก่อนหน้านี้จะเท่ากับศูนย์การแข่งขันจะถูกหยุดพักเมื่อมีการตรวจวัดเสียง แต่ผู้เข้าแข่งขันจะถูกหยุดพักไม่เกิน 30 วินาทีสำหรับการตรวจวัดอุปกรณ์วิทยุจะต้องเป็นประเภท open-loop (นั่นคือ ต้องไม่มี feedback ทางอีเลคโทรนิคจากเครื่องบินกลับลงมาสู่พื้นดิน) ห้ามใช้ระบบนักบินอัตโนมัติ (auto pilot) ซึ่งใช้แรงเฉื่อย หรือ แรงโน้มถ่วง หรือการใช้พื้นแผ่นดินเป็นตำแหน่งอ้างอิงทุกชนิด ห้ามใช้ระบบการเรียงลำดับการบังคับแบบอัตโนมัติ (แบบฟรีโปรแกรม) หรืออุปกรณ์ตั้งเวลาบังคับอัตโนมัติ

ตัวอย่าง : ที่อนุญาตให้ใช้
1. อุปกรณ์เปลึ่ยนแปลงอัตราการบังคับ ซึ่งปิดเปิดสวิทช์โดยนักบิน
2. ปุ่มหรือคันโยกบังคับใดๆ ซึ่งเริ่มและหยุดโดยนักบิน
3. สวิทช์ที่ปิดเปิดด้วยมือเพื่อเชื่อมโยงหน้าที่การบังคับ
ตัวอย่าง : ที่ไม่อนุญาตให้ใช้
1. ปุ่มสำหรับพลิกตัวโดยฉับพลัน/สแน็ป ซึ่งมีการบังคับช่วงเวลาทำงานอัตโนมัติ
2. อุปกรณ์ซึ่งตั้งโปรแกรมสำหรับการส่งอนุกรมคำสั่งอย่างอัตโนมัติ
3. นักบินอัตโนมัติ (auto pilot) สำหรับการแก้การเอียงของปีก
4. ระบบเปลี่ยนมุม Pitch ของใบพัดซึ่งมีการตั้งเวลาอัตโนมัติ
5. ระบบการรับคำสั่งด้วยเสียงใดๆ
6. ระบบซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยอัตโนมัติจากการวิเคราะห์ลักษณะการบินแต่ละเที่ยว
1.3. คำนิยามและจำนวนผู้ช่วย
ผู้ช่วยอาจเป็นผู้จัดการทีม ผู้เข้าแข่ง หรือผู้สนับสนุนที่ได้ลงทะเบียนเป็นทางการอนุญาตให้นักบินแต่ละคนมีผู้ช่วยได้ 1 คนในระหว่างเที่ยวบิน อาจมีผู้ช่วยได้ถึง 2 คนในช่วงสตาร์ทเครื่อง ผู้ช่วยคนที่สองอาจช่วยวางเครื่องบินสำหรับการบินขึ้นและเก็บเครื่องบินหลังการบินลง
1.4. จำนวนเที่ยวบิน
ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิทำการบินได้ในจำนวนเที่ยวบินที่เท่ากันทั้งในระหว่างรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศหรือรอบชิงชนะเลิศ โดยจะนับเฉพาะเที่ยวบินที่บินได้ครบถ้วน
1.5. นิยามของการพยายามบิน
เมื่อนักบินได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นจะถือว่าเป็นการพยายามบินหนึ่งครั้ง
หมายเหตุ : ถ้าไม่สามารถติดเครื่องได้ภายในเวลาสามนาที ผู้เข้าแข่งขันผู้นั้นต้องยอมเปลี่ยนที่ให้เป็นผู้แข่งขันถัดไป ถ้าเครื่องหยุดลงหลังเริ่มการบินขึ้น แต่ก่อนที่เครื่องจะพ้นจากพื้น อาจเริ่มทำการสตาร์ทเครื่องได้ใหม่ภายในเวลาสามนาที
1.6. จำนวนการพยายามบิน
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถทำการพยายามบินได้หนึ่งครั้งสำหรับเที่ยวบินเป็นทางการหนึ่งเที่ยว
หมายเหตุ : ผู้อำนวยการแข่งขันอาจพิจารณาให้ทำการพยายามบินซ้ำได้หากว่าไม่สามารถทำการสตาร์ทเครื่องได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเหตุที่นอกเหนือจากอาณัติของนักบิน (เช่น ในกรณีที่วิทยุถูกรบกวน) ในทำนองเดียวกันหากเที่ยวบินถูกรบกวนโดยนอกเหนือจากอาณัติของนักบิน ผู้เข้าแข่งขันก็อาจได้รับอนุญาตให้บินใหม่ และจะให้คะแนนตั้งแต่ท่าบินที่เริ่มถูกรบกวนเป็นต้นไปเท่านั้น
1.7. นิยามเที่ยวบินเป็นทางการ
ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร การพยายามบินหนึ่งครั้งจะถือเป็นหนึ่งเที่ยวบินเป็นทางการ

1.8. การให้คะแนน
ท่าบินแต่ละท่าจะได้รับคะแนนเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งอยู่ระหว่าง 10 และ 0 จากกรรมการผู้ตัดสินให้คะแนนแต่ละคน คะแนนนี้จะถูกคูณด้วยสัมประสิทธิ์(ค่า k - ผู้แปล) ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของท่าบิน ท่าบินใดซึ่งบินได้ไม่จบจะได้คะแนน 0 ท่าบินจะต้องบินให้กรรมการเห็นชัดเจน ถ้ากรรมการมีความจำเป็นที่ไม่สามารถติดตามท่าบินได้ตลอดทั้งท่า กรรมการผู้นั้นควรลงคะแนนเป็น Not Observed (N.O.) ในกรณีนี้คะแนนของกรรมการผู้นี้สำหรับท่านี้จะเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของกรรมการคนอื่นๆ ท่าบินตรงกลางควรบินตรงกลางของพื้นที่ทำการบิน ในขณะที่ท่าเลี้ยวกลับทิศทางไม่ควรหลุดเกินเส้นที่ทำมุม 60 องศาทางด้านซ้ายและขวาของจุดกลาง ความสูงต้องไม่เกิน 60 องศา นอกจากนี้ท่าบินควรบินอยู่ในแนวเส้นแนวบินซึ่งอยู่ที่ระยะห่างประมาณ 150 เมตรด้านหน้าของนักบิน การละเมิดกฎนี้จะเป็นสาเหตุให้กรรมการแต่ละคนลดคะแนนที่ให้ลง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการละเมิด พื้นที่ทำการบินจะแสดงอย่างชัดเจนด้วยเสาสีขาว ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร ซึ่งจะถูกปักไว้ตรงกลางเสาควรติดธงหรือริบบิ้นที่สีตัดกันเพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นควรให้มีเส้นสีขาวหรือสีอื่นที่เห็นได้ชัด ยาวอย่างน้อย 50 เมตรลากออกจากตำแหน่งของนักบินออกไปในแนว 60 องศา ทั้งซ้ายและขวาเพื่อแสดงจุดกลางและเส้นแนวขอบของพื้นที่การบิน จะต้องไม่มีเสียงหรือสัญญาณใดๆที่จะแสดงให้รู้ถึงการละเมิดพื้นที่ทำการบิน
กรรมการจะนั่งอยู่ในระยะไม่เกิน 10 เมตรและไม่น้อยกว่า 7 เมตร ด้านหลังของตำแหน่งนักบิน (จุดตัดของเส้น 60 องศา) และอยู่ภายในบริเวณที่อยู่ภายในเส้นมุม 60 องศาที่ต่อออกไปด้านหลังของนักบิน
เมื่อเที่ยวบินแต่ละเที่ยวสิ้นสุดลง กรรมการแต่ละคนจะพิจารณาว่าระดับเสียงของเครื่องบินดังเกินไปหรือไม่ หากกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเสียงดังเกินไป คะแนนของกรรมการแต่ละคนสำหรับเที่ยวบินนั้นจะถูกตัดลง 10 คะแนน
ถ้ากรรมการเห็นว่าการทำการบินเป็นไปในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย กรรมการอาจสั่งให้นักบินนำเครื่องบินลงสู่พื้น คะแนนซึ่งกรรมการแต่ละคนตัดสินให้จะถูกแสดงให้เห็นโดยทั่วกันภายหลังจากที่รอบบินแต่ละรอบสิ้นสุดลง
1.9. การจัดลำดับผู้ชนะ
ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะทำการบินคนละสามเที่ยวบิน โดยจะนับเอาเที่ยวที่ได้คะแนนดีที่สุดสองเที่ยวเพื่อจัดลำดับชนะเลิศ
1.10. การเตรียมการตัดสินให้คะแนน
ก่อนการแข่งขันจะต้องมีการประชุมชี้แจขงให้กับกรรมการ ตามด้วยเที่ยวบินฝึกฝนสำหรับกรรมการ โดยผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันนอกจากนั้นจะต้องมีการบินเที่ยวบิน อุ่นเครื่องสำหรับกรรมการ โดยผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันก่อนที่จะเริ่มเที่ยวบินแข่งขันเที่ยวแรก

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
1.11. การจัดการแข่งขันเครื่องบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ
การจัดลำดับการบินสำหรับการบินจะทำโดยการจับฉลาก ยกเว้นแต่ว่าจะไม่ให้ผู้ใช้ความถี่เดียวกันบินถัดต่อจากกันสำหรับเที่ยวบินที่สอง สาม จะเริ่มต้นจากลำดับที่ 1/3 และ 2/3 ตามลำดับลงมา
ในระหว่างเที่ยวบิน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับกรรมการผู้ตัดสินและอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยการการบิน (Flight Line Director)ต้องเรียกตัวผู้แข่งขันล่วงหน้า 5 นาที ก่อนที่จะให้ผู้แข่งขันเข้ามาใช้บริเวณสตาร์ทเครื่องถ้าความถี่ของผู้แข่งขันไม่มีการใช้อยู่ ผู้แข่งขันจะได้รับมอบเครื่องส่งเมื่อเข้าไปในบริเวณสตาร์ทเครื่องแล้ว เพื่อจะได้ทำการตรวจเช็ควิทยุ ถ้ามีการรบกวนทางด้านความถี่วิทยุ ผู้แข่งขันจะต้องได้รับอนุญาตให้มีเวลาตรวจเช็ควิทยุอีกไม่เกิน 1 นาทีก่อนที่จะเริ่มเวลา 3 นาทีสำหรับสตาร์ทเครื่อง ผู้ควบคุมเวลาจะแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบเมื่อหมดเวลาหนึ่งนาทีและเริ่มทำการวัดเวลาสตาร์ทเครื่อง 3 นาที่ทันที
1.12. การทำท่าบิน
จะต้องทำการบินท่าต่างๆตามลำดับที่กำหนดไว้โดยไม่มีการรบกวน ผู้แข่งขันสามารถทำท่าบินแต่ละท่าได้เพียงหนึ่งครั้งในระหว่างเที่ยวบิน นักบินมีเวลาสามนาทีสำหรับสตาร์ทเครื่องและสิบนาทีที่จะทำการบินให้จบ โดยจะเริ่มนับเวลาสามนาทีและสิบนาทีเมื่อผู้แข่งขันได้รับอนุญาตให้สตาร์ทเครื่อง เครื่องบินจะต้องวิ่งขึ้นและลงโดยไม่มีการช่วยใดๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่มีการพุ่งเครื่องบิน ถ้ามีชิ้นส่วนใดๆของเครื่องบินหลุดจากตัวเครื่องในระหว่างเที่ยวบิน การให้คะแนนจะยุติลง ณ จุดนั้น และต้องนำเครื่องลงสู่พื้นทันทีเที่ยวบินจะจบลงเมื่อทำการลงสู่พื้นเสร็จสิ้น การให้คะแนนจะยุติลงเมื่อครบเวลาสิบนาทีที่จำกัดไว้

คำอธิบายท่าบินผาดแผลงบังคับด้วยวิทยุ
การตัดสินให้คะแนนท่าบินทุกท่าจะยึดตามเส้นแนวบิน และจะเริ่มและจบท่าโดยเส้นตรงในแนวระดับในลักษณะบินปรกติหรือหงายท้อง ท่าบินตรงกลางจะเริ่มและจบในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ท่าบินกลับทิศทางจะจบลงด้วยทิศทาง 180 องศา กลับจากขาเข้า ระดับของขาเข้าและขาออกของท่าบินตรงกลางสมควรจะอยู่ในระดับความสูงเดียวกัน ยอมให้มีการปรับระดับตำแหน่งความสูงได้ในท่าบินกลับทิศทาง
ท่าบินทุกท่าที่มีวงกลมตั้งหรือส่วนของวงกลมมากกว่าหนึ่งจะต้องให้เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตั้งและส่วนของวงกลมมีขนาดเท่ากัน และในกรณีของวงกลมตั้งหลายวงจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ในทำนองเดียวกันท่าบินที่มีการพลิกตัวมากกว่าหนึ่งครั้งจะต้องมีอัตราการพลิกตัวที่เท่ากัน และหากกำหนดให้มีการชะงัก เวลาของการชะงักต้องเท่ากัน การพลิกตัวต่อเนื่องในแนวระดับจะต้องอยู่ในระดับความสูงและทิศทางเดียวกัน
เท่าบินทุกท่าที่มีการพลิกตัว, พลิกตัวบางส่วน หรือพลิกตัวฉับพลันหรือท่าผสมของที่กล่าวมา จะต้องมีเส้นตรงที่ยาวเท่ากันปรากฏอยู่ก่อนและหลังการพลิกตัวหรือท่าผสม ยาเว้นในกรณีของกลุ่มท่าอิมเมลแมน (Immelman) หรือท่าสปลิท-เอส (Split S) สำหรับท่าการพลิกตัวฉับพลันที่เป็นการพลิกตัวฉับพลัน (หรือพลิกตัวเป็นแบบคว้าน) จะได้คะแนนศูนย์ ท่าใบไม้ร่วง/สปินที่เป็นการดำแบบคว้านลงหรือเริ่มต้นด้วยการพลิกตัวฉับพลันจะได้คะแนนศูนย์
การละเมิดใดๆจากที่กล่าวข้างบนจะเป็นเหตุให้มีการลดคะแนนเพิ่มเติมจากการละเมิดที่กล่าวไว้ในข้อสังเกตสำหรับกรรมการสำหรับท่าบินแต่ละท่า และการลดคะแนนตามที่กล่าวไว้ในแนวทางสำหรับกรรมการ ให้สังเกตว่ารายการเหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมไปหมดทุกกรณี

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
คำอธิบายท่าบินผาดแผลงบังคับวิทยุ (Asian Sportsman Aerobatic Maneuvers)

1 ลำดับการบินขึ้น (Take-Off Sequence)
บินขึ้นจากจุดที่กำหนด หลังจากแนวบินตรงทวนลม เลี้ยว 90 องศาที่ บินตัดแนวบิน เลี้ยว 270 องศาในทางตรงกันข้าม เพื่อกลับเข้าเส้นแนวบินตามลม
หมายเหตุ :-
- ไม่ทำตามลำดับ คะแนนศูนย์
- เครื่องบินผ่านด้านหลังกรรมการ คะแนนศูนย์
คำแนะนำ
ท่าที่1 Take –off
หลังจากทำการTake –off ให้บินกลับตัวเป็นตัวสระอุในแนวราบ Horizontal ทำการบินผ่านหน้ากรรมการหนึ่งเที่ยว ไปกลับตัวมาจะกลับตัวแบบไหนก็ได้ไม่บังคับ แต่จะต้องคำนึงถึงระยะและระดับที่จะเข้ามาบิน ทำท่าวงกกลมตั้งในสามวง Three Inside Loop

2 วงกลมตั้งในสามวง (Three Inside Loops)
จากแนวบินระดับ ดึงเข้าสู่วงกลมตั้งในสามวง ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- วงกลมทั้งสามวงทับกัน
- จุดที่ออกจากท่าต้องอยู่ในตำแหน่งและระดับเดียวกันกับจุดที่เข้าท่า
- ตำแหน่งของศูนย์กลางวงกลม อยู่ที่เส้นกลาง
คำแนะนำ
ท่าที่2 Three Inside Loop
เมื่อเราบินระดับและระยะพอเครื่องบินๆมาถึงข้างหน้าเรา ที่ Center เราก็ดึงElevator Up เพื่อให้หัวเครื่องบินไต่ขึ้นในมุมประมาณ 30องศา เพื่อจะไต่ระดับขึ้นไปทำครึ่งวงกลมทางด้านขวามือเมื่อเครื่องบินไต่ระดับถึงจุดบนครบครึ่งวงกลมและทางด้านซ้ายเครื่องบินจะต้องไต่ลงเพื่อจะทำอีกส่วนหนึ่งของครึ่งวงกลม เมื่อเครื่องบินไต่ถึงจุดที่เราเริ่มดึงหัวขึ้น เป็นอันว่าเราได้ทำครบหนึ่งวงแล้วและทำต่ออีกเหมือนกันจนครบสามวง เมื่อครบวงที่สามแล้ว ตอนนี้เราจะออกจากท่าบินนี้ ระดับจะต้องระดับเดิมเมื่อออกไปแล้วจะต้องบินให้นิ่งอยู่ก่อน ผู้ช่วยนักบินจะขานว่า completed บินไปกลับตัวทางด้านขวามือเพื่อจะกลับมาเข้าทำท่า Three Horizontal Roll

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
3 พลิกตัวสามรอบ (Three-turn Roll)
จากแนวบินระดับ พลิกตัวสามรอบ
หมายเหตุ :-
- อัตราการพลิกตัวเร็วเท่ากัน
- การพลิกตัวอยู่ในแนวระดับ
- เข้าและออกจากท่าระดับเดียวกัน
- จุดที่ผ่านเส้นกลาง จะเป็นตำแหน่งที่เครื่องบินหงายท้องได้ระดับในการพลิกตัวครั้งที่ 2 พอดีโดย(ดูที่ปีกของเครื่องบินที่ตัดกับเส้นกลางในลักษณะหงายท้องได้ระดับ)
คำแนะนำ
ท่าที่3 Three Horizontal Roll
การบินท่าบิน Three Horizontal Roll พอเราบินเกือบถึงเส้นCenter กะว่าเราจะเริ่ม Roll พอเริ่ม Roll แล้วหนึ่งรอบครึ่งจะต้องอยู่ที่ Center และอีกรอบครึ่งไปทางด้านซ้ายมิอ (วิธืการ Roll ให้โยกAile ซ้ายหรือ ขวาก็ได้ หมายถึงเราจะ Roll ซ้ายหรือขวาก็ได้ไม่ได้บังคับ หลังจากเดรื่องบินเริ่มหมุนครึ่งรอบและเตรื่องบินอยู่ในสถานะหงายท้องเราก็ดัน Elevator Down เพื่อรักษาหัวเครื่องบินไม่ให้ตกระดับ แต่ระวังอย่าดัน Downจนมากเกินไปจนหัวโด่ง ทำตามที่กล่าวมาจนครบ สามรอบ)หลังจากบินจบท่าแล้วก็บินไปกลับตัวเพื่อจะเข้ามาทำท่าบิน Cuban Eight

4 คิวบันเอท ( Cuban 8 )
ทำท่าเลขแปดแนวนอน เริ่มจากแนวระดับล่าง เมื่อบินผ่านจุดกลาง ดึงขึ้นทำวงกลมตั้งในเมื่อถึงตำแหน่ง 5/8 ของวงกลม ดันให้เครื่องหงายท้อง และพลิกตัวครึ่งรอบที่จุดตัดตรงกลาง คงเป็นมุม 45 องศา เมื่อเริ่มเข้าแนวระดับล่าง ทำวงกลมตั้งใน อีกวง และเมื่อถึงตำแหน่ง 5/8 ของวงกลม ดันให้เครื่องหงายท้อง และพลิกตัวครึ่งรอบที่จุดตัดตรงกลาง
หมายเหตุ :
- วงกลมทั้งสองวงต้องมีขนาดเท่ากัน
- จุดที่พลิกตัวเป็นจุดตัดที่ตรงเส้นกลาง เครื่องบินจะอยู่ในลักษณะตะแคงได้มุมฉาก
- พลิกตัวได้ทั้ง ซ้าย-ขวา
คำแนะนำ
ท่าที่4 Cuban Eight
การทำท่าบิน Cuban Eight ให้บินระดับพอเครื่องบินบินผ่านหน้าท่านเล็กน้อย ให้ท่านดึง Elevator Up เพื่อจะทำวงกลมคือ Loop เมื่อท่านดึง Up แล้วพยายามทำให้ Loop ครึ่งวงกลม พอได้ Loop ครึ่งวงกลมแล้ว ที่จุดกึ่งกลางด้านบนของครึ่งวงกลมเบา

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
เครื่องยนต์ลงแล้วไต่ระดับลง 45 องศา พอไต่ระดับลงมานิดหน่อยท่านก็ทำการพลิกครึ่งรอบแต่ยังอยู่ในตำแหน่ง 45องศาเครื่องบินก็จะเข้าระดับธรรมดา แล้วท่านก็เติมเครื่องยนต์ขึ้น 100% เพื่อจะเรื่มทำครึ่งวงกลมทางด้านซ้าย โดยใช้ Elevator Upเหมือนกับทางด้าน.?.มือ ดึงUp แล้วเลี้ยงให้ได้ครึ่งวงกลม พอเครื่องบินทำLoop ได้ครึ่งวงกลมแล้วที่ยอดของครึ่งวงกลมด้านบน ท่านก้ทำการเบาเครึ่องยนต์ลง แล้วบินไต่ลง 45องศา พอบินไต่ลงมาเล็กน้อย ท่านก็พลิกครึ่งรอบหรือเรียกว่า Half Roll เครื่องบินก็พลิกเข้าท่าบินธรรมดา แต่หัวเครื่องบินยังไต่ระดับลงถึงระดับที่เราบินระดับมาก่อนเข้าทำท่าเราก็ดึง Elevator Up เพื่อให้เครื่องบิน บินเข้าสู่ระดับธรรมดาแล้วบินระดับต่อเนื่องไปอีกเล็กน้อยเป็นอันว่าท่าบิน Cuban Eight จบสิ้น บินไปกลับตัวเพื่อจะกลับตัวมาเข้าท่าบิน Inverted Flight

5 บินในแนวระดับหงายท้อง (Inverted Flight)
จากแนวบินระดับ พลิกตัวครึ่งรอบ บินในแนวระดับหงายท้อง พลิกตัวครึ่งรอบออกจากท่า
หมายเหตุ :
- ทิศทางและระดับต้องอยู่ในแนวเดียวกับเส้นแนวบิน
- ระยะที่เริ่มพลิกตัวจนถึงเส้นกลาง จะเท่ากับระยะจากเส้นกลางไปจนพลิกตัวกลับ
คำแนะนำ
ท่าที่5 Inverted Flight
ท่าบิน Inverted Flightคือบินหงายท้อง แบ่งกึ่งกลางCenter ช่วงหงายท้อง ทางด้านซ้ายและขวาจะต้องเท่ากัน หลังจากบินกลับตัวมาแล้วเราก็บินอยู่ในระดับเดิมจากทางขวามือไปทางด้านซ้ายมือ พอบินมาเกือบถึงตัวเราที่ยืนบินอยู่ เราก็ทำการโยกAileทางด้านหนึ่งด้านใดก๊ได้ตามที่เราถนัด สมมุติว่าเราโยกAile ทางด้านซ้าย เมื่อเราโยกและเครื่องบินเริ่มหมุนทางด้านซ้ายมือ เมื่อเครื่องบินหมุนได้ครึ่งรอบในตำแหน่งเครื่องบินหงายท้องเราก็หยุดและปล่อยสติ๊กคืนCenter พร้อมกับดัน Elevator Down เพื่อไม่ให้หัวเครื่องบินตกระดับลง แต่จะต้องไม่ดันมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้หัวเครื่องบินโด่งขึ้นไม่อยู่ในระดับ ในระหว่างที่หงายท้องอยู่เราจะต้องไม่ให้ปีกเครื่องบินเอียงไปทางหนึ่งทางใดจะทำให้เครื่องบินเปลี่ยนทิศทางไปทางนั้น
ท่านจะต้องจับปีกเครื่องบินให้อยู่ในระดับขนานพื้นอยู่ตลอดเวลาขณะบินหงายท้อง พอเครื่องบิน บินหงายท้องถึงด้านหน้าเราที่ยืนบินอยู่ ให้รักษาระดับอย่างเดิมแล้วบินต่อไปอีก กะว่าระยะทางที่เริ่มหงายท้องมาทางด้านขวามือให้เท่ากับทางด้านว้ายมือ เมื่อเราคิดว่าทางด้านซ้ายมือเท่ากับทางด้านขวามือแล้ว เราก็โยก Aile ทางด้านหนึ่งด้านใดก็ได้ ในเมื่อเราเริ่มโยกซ้ายก็โยกซ้ายต่อไป เครื่องบินจะเริ่มหมุนซ้าย เมื่อเครื่องบินหมุนครบครึ่งรอบปีกขนานกับพื้นเข้าท่าบินปกติ ในระหว่างพลิกต้องพยายามไม่ให้เครื่องบินบินตกระดับง่ายๆ หลังจากนั้นก็บินต่อไปเป็นอันว่าท่าบินหงายท้องก็เสร็จสิ้นลง

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
6 กลับตัวแบบสตอลเทอร์น (Stall Turn with 2,1/4 Rolls)
จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวดิ่ง 90 องศา พลิกตัว 1/4 รอบ ที่ครึ่งทางขาขึ้น ตรงขึ้นต่อไป ที่จุดยอดกลับตัวแบบสตอลเทอร์น ในทิศทางสวนลม ลงมาในแนวดิ่ง ที่ครึ่งทางขาลงพลิกตัว 1/4 รอบใน ด้านตรงข้ามกับที่พลิกตัวขาขึ้น ดึงเข้าสู่แนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- รัศมีการกลับตัวไม่เกิน ระยะของกางปีก
- จุดที่กลับตัว ต้องอยู่ที่เส้นกลาง
- ส่วนของวงกลมขาขึ้นและขาลงมีรัศมีเท่ากัน
- ถ้าเครื่องบินคว่ำหรือหงายตัวตกลงมา คะแนนศูนย์
คำแนะนำ
ท่าที่6 Stall Turn with 2 ผ Rolls
ท่าบิน Stall Turn with 2 ผ Rolls หลังจากบินหงายท้องจบสิ้นลงแล้ว ก็บินไปกลับตัวเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้ามาทำท่า Stall Turn with 2 ผจากซ้ายไปขวา เมื่อบินกลับตัวมาแล้วระดับอยู่ในระดับเดิมพอบินมาถึงด้านหน้าของเราก่อนถึงเส้น Center ทำการดึง Elevator Upทำมุม 90 องศาในทางตั้ง พอเครื่องบินไต่ระดับขึ้นและเราเห็นว่าเครื่องบินทำมุม 90 องศา แล้วก็โยก Aileไปทางหนึ่งทางใด ถ้าเราโยก Aile ทางขวามือเครื่องบินจะหมุนทางขวามือ พอเครื่องบิยหมุนได้ 1/4รอบ เราก็โยก Aile กลับเข้า Center เครื่องบินหมุนก็จะหยุดลง แล้วบินต่อไปในทางตั้ง เมื่อบินต่อและดูว่าระยะระหว่างเมื่อเริ่มไต่ขึ้นจนถึงการพลิกตัวและบินไต่ขึ้นไประยะเท่ากับด้านล่างก็แครื่องยนต์ลงที่ Idle แล้วโยก Rudder ไปทางขวามือนั่นก็คือ Stall เมื่อเครื่องบินStall ลงในทางดิ่งลง พอเครื่องบินไต่ลงถึงตรงกับการหมุนตัวตอนขาไต่ขึ้น เราจึงโยก Aile ไปทางด้านซ้ายมือหมุน ผ แล้วรอให้เครื่องบินไต่ลงถึงระดับตอนที่เราขึ้นตอนต้นก็ดึงเข้าระดับเดิมแล้วบินต่อไป เป็นอันว่าท่าบิน Stall Turn 2 ผ Rolls เสร็จสิ้นลง จากนั้นบินไปกลับตัวทางด้านขวามือเพื่อจะบินจากขวาไปซ้าย เพื่อที่จะเข้าทำท่าต่อไป ท่าต่อไปคือท่าบิน Top Hat ฝ Roll Up ฝ Roll Down

7 Top Hat ,1/2rol up ,1/2 roll down
จากแนวบินระดับล่าง ดึงขึ้นในแนวดิ่ง 90 องศา พลิกตัว 1/2 รอบ ที่ครึ่งทางขาขึ้น เป็นด้านที่หนึ่ง ดึงหงายท้องเข้าแนวระดับบน บินผ่านเส้นกลาง เป็นด้านที่สอง แล้วดึงลงในแนวดิ่ง 90 องศา พลิกตัว 1/2 รอบ ที่ครึ่งทางขาลง เป็นด้านที่สาม แล้วดึงเข้าระดับล่าง
หมายเหตุ :
- ส่วนของวงกลมที่ดึงเครื่องขึ้นหรือลง 90 องศา ทั้ง 4 มุม ต้องมีรัศมีเท่ากัน

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
- ระยะของด้านที่เกิดขึ้น ทั้ง 3 ด้าน ต้องมีระยะเท่ากัน
- ตำแหน่งกึ่งกลางของท่าบิน คือครึ่งหนึ่งของด้านที่สอง จะต้องอยู่ที่เส้นกลาง
คำแนะนำ
ท่าที่7 Top Hat ฝ Roll Up ฝ Roll Down
ท่าบิน Top Hat ฝ Roll Up ฝ Roll Down เมื่อเราบินกลับตัวมาแล้วท่าบินนี้ต้องเริ่มทำท่าก่อนถึง Center เล้กน้อย เมื่อบินมาถึงเกือบ Center ก็ดึง Elevator Up 90 องศา พอเครื่องบินไต่ขึ้นพอประมาณก็โยก Aile จะเป็นด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ เมื่อเครื่องบินหมุนครึ่งรอบก็โยก Aile กลับที่ center เครื่องบินจะหยุดหมุน เครื่องบินจะบินต่อในทางตั้ง เมื่อดูระยะแล้วว่าเท่ากับตอนล่างจึงดึง Elevator Up เพื่อให้เครื่องบิน บินหงายท้อง แล้วบินรักษาระดับเลย center ไปเล็กน้อยก็เบาเครื่องยนต์ Idle แล้วคึง Elevator Up เพื่อให้หัวเครื่องบินไต่ลง 90 องศา พอเครื่องบินไต่ลงตรงกับที่หมุนตัวขาขึ้น เราก็โยก Alile จะดยกซ้ายหรือขวาก็ได้ เมื่อเครื่องบินหมุนครึ่งรอบก็โยก Aile กลับเข้า center เครื่องบินจะหยุดหมุน แล้วปล่อยเครื่องบินไต่ระดับลงมาจนถึงระดับที่เราเริ่มต้นดึงขึ้น แล้วดึง Elevator Up เพื่อจะให้เครื่องบิน บิน เข้าระดับเดิมแล้วบินต่อไปในระดับเดิม ท่าบินนี้เป็นอันจบสิ้นลง จากนั้นบินต่อไปเพื่อจะบินกลับตัว บินมาเข้าท่า Cobra with ฝ Roll

8 Cobra with ฝ rolls
จากแนวบินระดับล่าง ดึงขึ้นทำมุม 45 องศา พลิกตัว 1/2 รอบ ที่ครึ่งทางขาขึ้น เมื่อถึงแนวระดับบน ดึงหงายท้องลงทำมุม 90 องศา พลิกตัว 1/2 รอบ ที่ครึ่งทางขาลง แล้วดึงเข้าระดับล่าง
หมายเหต :
- ส่วนของวงกลมที่ดึงเครื่อง ต้องมีรัศมีเท่ากัน
- ตำแหน่งกึ่งกลางของท่าบิน คือจุดสัมผัสกับแนวระดับบน จะต้องอยู่ที่เส้นกลาง
คำแนะนำ
ท่าที่8 Cobra with ฝ Roll
เมื่อกลับตัวมาแล้วบินระดับเดิมจากว้ายไปขวามือ ท่านี้ก็เช่นเดียวกันพอบินเกือบถึง center ก็ดึง Up Elevator ทำมุม 45 องศา ไต่ขึ้นไปเล้กน้อยพลิกตัวครึ่งรอบแล้วทำมุม 45 องศา ต่อไปเครื่องบินจะอยุ่ฐานะหงายท้องพอเครื่องบินไต่ขึ้นถึงจุดcenter ก็เบาเครื่องยนตื Idle แล้วไต่ลงในมุม 45 องศา พอเครื่องบินไต่ลงมาตรงขาขึ้นพลิกตัวครึ่งรอบก็โยกAeliพลิกตัวครึ่งรอบ แล้วไต่ลงในมุม 45 องศาเมื่อเครื่องบินไต่ลงมาถึงระดับเท่ากับขาขึ้นก็ดึง Up Elevator เพื่อจะเข้าระดับธรรมดา เมื่อเครื่องบินเข้าระดับธรรมดาแล้วบินต่อเนื่องไปอีก ก็เป็นอันว่าท่านี้จบลง บินต่อเพื่อกลับตัวเพื่อที่จะกลับมาเข้าทำท่า Double Immelman

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:47
9 ดับเบิล อิมเมลแมน ( Double Immelmann)
จากแนวบินระดับล่าง บินผ่านจุดกลาง ดึงเข้าสู่ครึ่งวงกลมตั้งใน ที่ยอดวงพลิกตัวครึ่งรอบ เข้าระดับบนบินย้อนกลับ แล้วกลับตัวด้วยครึ่งวงกลมตั้งนอก ที่ล่างวงพลิกตัวกลับครึ่งรอบ ออกจากท่าในแนวบินระดับ
หมายเหตุ :-
- การพลิกตัวต้องทำทันทีหลังจบครึ่งวงกลมตั้งใน โดยไม่มีการชะงัก
- วงกลมทั้งสองวงต้องมีขนาดเท่ากัน และมีระยะห่างจากเส้นกลางเท่าๆกัน
คำแนะนำ
ท่าที่9 Double Immelman
เมื่อกลับตัวมาแล้ว จากขวามือไปซ้ายบินผ่านcenter ไปเล็กน้อย แล้วดึง Elevator Up เพื่อจะทำครึ่งวงกลม เมื่อดึง Up Elevator จนถึงยอดวงก็หมุนครึ่งรอบแล้วบินระดับผ่าน center ไปเล็กน้อย ดัน Elevator Down เพื่อจะทำ Outside Loop เมื่อทำOutside Loopแล้วพลิกตัวครึ่งรอบที่ยอดวงด้านล่างครึ่งรอบเครื่องบินก็จะเข้าท่าบินปกติ จาก นั้นก็บินต่อเนื่องไป เป็นอันว่าท่าบินนี้จบสิ้นลง แล้วบินต่อไปกลับตัวเพื่อที่จะทำ Humpty Bump with 2 ฝ Roll

10 ฮัมทีบัมพ์ (Humpty Bump with 2,1/2 Rolls)
จากแนวบินระดับ ดึงขึ้นในแนวดิ่ง พลิกตัวครึ่งรอบ ที่กึ่งลางขาขึ้น แล้วกลับตัวทำครึ่งวงกลมตั้งใน ลงมาในแนวดิ่ง พลิกตัวครึ่งรอบ ที่กึ่งลางขาลง แล้วดึงออกจากท่าในแนวระดับ
หมายเหตุ :-
- ส่วนของวงกลม ต้องมีรัศมีเท่ากัน
- ครึ่งวงกลมตั้งในควรมีรัศมีเท่ากับ ส่วนของวงกลมขาขึ้น และขาลง
- พลิกตัวที่กึ่งกลางเส้นแนวดิ่งขาขึ้น และขาลง
- กลับตัวที่ยอดวง ต้องอยู่ที่เส้นกึ่งกลางพอดี
คำแนะนำ
ท่าที่10 Humpty Bump with 2 ฝ Roll
ท่าบิน Humpty Bump with 2 ฝ Roll ทำจากซ้ายไปขวามือ เมื่อบินมาเกือบถึง center ก็ดึง Elevator Up ทำมุม 90 องศา เมื่อเครื่องบินไต่ขึ้นไปเล็กน้อย หมุนรอบตัวครึ่งรอบแล้วบินไต่ขึ้นไป 90 องศาขึ้นไปเล็กน้อย ดึง Elevator Down เพื่อทำ Half Loopเมื่อทำ Half Loop แล้วก็เบาเครื่องยนต์Idle ไต่ลง 90องศา พอไต่ลงมาเล็กน้อยแล้วพลิกครึ่งรอบ หลังจากพลิกตัวครึ่งรอบแล้วไต่ลงต่อเนื่อง พอไต่ลงถึงระดับเท่าที่ขัน

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:48
ตอนเริ่มทำก็ดึง Elevator Up เพื่อเข้าระดับบินแล้วบินต่อเนื่องไปอีก เป็นอันว่าท่าบินนี้จบสิ้นลง

11 ใบไม้ร่วงสามรอบ (Three-Turn Spin)
จากเส้นแนวบินระดับบน ลดความเร็วจนเครื่องบินเข้าอาการสตอล เข้าสู่การหมุนตัวแบบใบไม้ร่วงสามรอบ แล้วลงมาในแนวดิ่ง ดึง 90 องศา ออกจากท่าในแนวระดับ
หมายเหตุ :-
- เครื่องบินต้องสตอลเพื่อเข้าท่าและต้องอยู่ในอาการสตอลในระหว่างหมุนตัวลง
- หมุนตัวเป็นแบบคว้าน (spiral) ลงมา คะแนนศูนย์
- หมุนตัวเกินหรือขาดไปมากกว่าครึ่งรอบ ถูกลดคะแนนอย่างรุนแรง
- เส้นลงแนวดิ่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของท่าบิน
คำแนะนำ
ท่าที่11 Three Turn Spin
บินไปกลับตัว หลังจากบินกลับตัวแล้วบินผ่านหน้ากรรมการตัดสินไปหนึ่งเที่ยวจากขวาไปซ้าย เมื่อบินไปทางด้านซ้ายดึงElevator Up เพื่อจะไต่ขึ้นไปทำท่า 3 Turn Spin หลังจากไต่ขึ้นไประดับบนก็กด Elevator Down เพื่อให้เครื่องบิน บินในระดับบน หลังจากบินระดับบนแล้วก็เริ่มเบาเครื่องยนต์ แล้วเลี้ยงเครื่องบินอยู่ในระดับ เมื่อเครื่องบิน บินถึง center ในขณะนั้นเครื่องบินต้องหมดความเร็วและพร้อมที่จะ Stall ในเวลาเดียวกันเราจึงโยก Rudder หลังจากโยก Rudder เครื่องบินจะStall ในทิศทางที่เราโยกRudder เครื่องบินจะหมุน Spin ลงเมื่อ Spin ครบ3รอบ แล้วก็ปล่อยRudder ให้สติ๊กกลับcenter เครื่องบินก็จะหยุด แล้วปล่อยให้เครื่องบินไต่ระดับลงจนถึงระดับล่างแล้วดึง Elevator Up เพื่อจะเข้าบินเข้าระดับแล้วบินต่อเนื่องไปอีกเล็กน้อยเป็นอันว่าท่าบินนี้จบลง แล้วเตรียม Landing ต่อไป

12 ลำดับการบินลง (Landing Sequence)
จากแนวบินระดับ เลี้ยว 180 องศาเข้าสู่แนวบินตามลม แล้วเลี้ยว 90 องศา เลี้ยวอีก 90 องศา แล้วลดระดับลงสู่พื้นในบริเวณพื้นที่
ลงที่กำหนด
หมายเหตุ :-
- เครื่องบินไม่ทำตามลำดับการบินลง ศูนย์คะแนน
- ถ้าขาล้อใดเกิดพับขึ้นเมื่อถึงพื้น ศูนย์คะแนน
- ถ้าเครื่องบินลงถึงพื้นนอกบริเวณพื้นที่ลง ศูนย์คะแนน บริเวณพื้นที่ลงกำหนดโดยวงกลม รัศมี 50 เมตร หรือเส้นตรงซึ่งอยู่ห่างกัน 100 เมตร โดยที่ทางวิ่งขึ้นกว้างอย่างน้อย 10 เมตร

ลูกเจ้าพ่อเสือสมิง
02-07-2008, 20:48
ตัวอย่างใบให้คะแนน

Asian Sportsman Aerobatic Maneuver

K
ตะแนน
Note
As-01 Take-Off Sequence 1
As-02 Three Inside Loops 3
As-03 Three Rolls 3
As-04 Cuban 8(eight) 3
As-05 Inverted Flight 2
As-06 Stall Turn with2,1/4 Rolls 3
As-07 Top Hat ,1/2rol up ,1/2 roll down 3
As-08 Cobra with ฝ rolls 3
As-09 Double Immelman 3
As-10 Humpty Bump with 2,1/2 Rolls 3
As-11 3-Turn Spin 3
As-12 Landing Sequence 1








Note;











JudgeSinature______________________________________________________________________

Jury signature_____________________________________________________________________