PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : กลั่นน้ำมันจาก "พลาสติก" เกิดแล้วที่ "สมุทรปราการ" !!



Joe043
04-08-2008, 12:40
ขยะทุกอย่างทั้ง พลาสติก สารเคมี แก้ว ไม้ และกระดาษ สามารถนำกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งสิ้น และขณะนี้มีความพยายามนำ "ขยะพลาสติก" มาหลอมรีไซเคิลเป็น "น้ำมัน"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กระบวนการนี้เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย แต่ยังเป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น

ยิ่งในไทยต้องเผชิญกับปัญหาการจัดการขยะพลาสติกภายในประเทศถึงปีละ 2.7 ล้านตัน แต่สามารถรีไซเคิลได้เพียงปีละ 0.7 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการทำลายด้วยการฝั่งกลบ หรือเผาทิ้งถึงปีละ 2.5 ล้านตัน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะกับโลก

การเผาถือเป็นการทำลายชั้นบรรยากาศ ขณะที่การฝังกลบต้องใช้เวลากว่า 500 ปี กว่าพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลาย และในจำนวนพลาสติกที่ทิ้งไปกว่าปีละ 2.5 ล้านตันนั้น พบว่ามีพลาสติกอยู่ 4 ชนิด ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นน้ำมันได้ ประกอบด้วย HDPE ปริมาณ 1.0 ตัน LDPE ปริมาณ 0.7 ล้านตัน PP ปริมาณ 0.4 ล้านตัน และอื่นๆ อีก 0.4 ล้านตัน

โครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคเอกชน (บริษัท ซิงเกิล พอยท์ เอนเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นวิรอนเมนท์ (Single Point Energy And Environment-SPE) เป็นผู้นำเข้าเทคโนโลยี "นวัตกรรมการรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง" จากโปแลนด์ เริ่มนำร่องร่วมมือกับชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น เพราะแต่ละแห่งล้วนกำลังแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง จึงเป็นปัจจัยเสริมกันในการนำขยะพลาสติกในชุมชนกลับมารีไซเคิลด้วยกรรมวิธีดังกล่าว

จังหวัดสมุทรปราการ ถูกเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องดำเนินการในปี 2550 ซึ่งน้ำมันที่ผลิตออกมาได้จะมีโรงกลั่นน้ำมันเป็นผู้รับซื้อ จากการคำนวณพบว่า จะสามารถรณรงค์แยก "พลาสติกสะอาด" ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ตัน

ปริมาณนี้คุ้มค่าเพียงพอสำหรับกลั่นกลับเป็นน้ำมันดิบได้วันละ 4,500 ลิตร หรือ 28 ล้านบาร์เรล

หรือถ้าแยกพลาสติกสะอาดได้ปีละ 2,100 ตัน จะได้น้ำมันดิบ 1.62 ล้านลิตร หรือ 1 หมื่นล้านบาร์เรล สามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบได้ถึง 5% จากที่นำเข้ามา 7 แสนกว่าล้านตันต่อปี

ดร.สันติวิภา พานิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท SPE บอกว่า โครงการนี้ใช้เงินลงทุน 65 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน 15 ล้านบาท เทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ 35 ล้านบาท และบริษัท SPE 15 ล้านบาท โดยมีแผนร่วมค่อนข้างชัดเจนว่า โครงการนี้จะคืนทุนภายใน 5 ปี หากกำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันดิบลิตรละ 15.50 บาท ต่ำกว่าราคาจำหน่ายปกติในราคาลิตรละ 17.30 บาท หรือหากราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

โครงการผลิตน้ำมันจากพลาสติกขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมสถานที่ และนำเข้าเทคโนโลยี เหลือแต่เพียงการปลุกจิตสำนึกคัดแยกขยะพลาสติกไว้ในสต็อกให้ได้มากที่สุด ก่อนจะเริ่มเดินเครื่องผลิตในเดือนตุลาคมนี้

ประกายดาว แบ่งสันเที๊ยะ

ที่มา - กรุงเทพธุรกิจ

Joe043
04-08-2008, 12:48
ข่าววันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ เมื่อวานนี้ (2 พ.ค.) นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลย์วุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายสัมพันธ์ เตชะเจริญกุล นายกเทศมนตรีนครสมุทรปราการ พล.ต.ต.วิทยา ประยงค์พันธุ์ ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการพร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทโปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี(1999) จำกัด(มหาชน) ได้ร่วมกันแถลงข่าว ความสำเร็จของโครงการ ศึกษาและพัฒนาแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเข้ารับฟังและเยี่ยมชมกรรมวิธี แปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง กันจำนวนมาก ณ ที่ทำการบริษัทโปรเฟสชั่นแนลฯ

นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับเทศบาลนครสมุทรปราการ และบริษัทโปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999)จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันศึกษา การแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำม ันเชื่อเพลิงนั้น โดยเครื่องจักรทุกชิ้นนั้น ผลิตในประเทศไทยทั้งสิ้น และเป็นเครื่องจักรที่มีกระบวนการผลิต ในการกำจัดขยะพลาสติก ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และระดับโลก อันเป็นการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมือง สามารถนำน้ำมันจากการแปรรูปขยะพลาสติก มาทดแทนน้ำมันดิบที่นำเข้ามา5,0000ล้านลิตรต่อปี

ขณะนี้ได้มี ตัวแทนของประเทศรัฐเซีย และของเยอรมัน ได้ขอติดต่อเพื่อขอซื้อเครื่องจักร ดังกล่าว เพื่อเอาไปดำเนินการในประเทศของตัวเองแล้ว และ เมื่อทำการเปรียบเทียบได้จากประเทศ ที่สามารถแปรรูปขยะเป็นน้ำมันได้ คือประเทศโปรแลนด์จากการเปรียบเทียบกันนั้นพบว่า รูปร่างของเครื่องจักรของเราจะมีความสมบูรณ์และมีคุณภาพได้ดีกว่า ซึ่งของประเทศโปรแลนด์นั้นกระบวนการนำพลาสติกเข้าเครื่องจักรต้องใช้กำลังคนและผลิตนำ้ำมันได้เพียง 6 ตันต่อวันเท่านั้น ส่วนของเราใช้เครื่องจักรเป็นกลไกในการทำงาน และสามารถผลิตน้ำมันได้ประมาณ 10 ตันต่อวัน หรือประมาณ 6,000-8,000 ลิตรต่อวัน

โดยเตาผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกนั้น เกิดจากการทำพลาสติกให้ได้รับความร้อนประมาณ 420 องศา จากนั้นพลาสติกก็จะหลอมละลายเป็นของเหลว และเปลี่ยนสภาพเป็นแก๊ส เมื่อแก๊สถูกทำให้เย็นก็จะมี wax เกิดขึ้นจึงต้องมีการดักwaxก่อน พร้อมกับปรับสภาพของแก๊สจากนั้นจะถูกส่งไปควบแน่นด้วยระบบหล่อเย็นจนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนแก๊สที่ไม่ถูกกลั่นตัวก็จะถูกนำไปให้ความร้อนแก่หัวเผาแก๊สเพื่อให้ความร้อนกับตัวเอง สำหรับน้ำมันที่ได้จากการกลั่นนั้น สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องให้ความร้อนได้โดยตรง หรือนำไปเป็นน้ำมันพื้นฐานเข้าสู่กระบวนการกลั่นโดยโรงกลั่น เช่น ปตท. และบางจาก หรืออาจจะเข้าสู่โรงกลั่นที่ออกแบบเฉพาะสำหรับน้ำมันส่วนนี้ ส่วนการที่จะนำไปใช้กับเครื่่องยนต์นั้นควรต้องมีการปรับสภาพของน้ำมันหรือผสมก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ โดยกระบวนการดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ อากาศ หรือกลิ่นรบกวนอันมีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และยังเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย

ผู้ว่าราชการจังหวัดยังได้กล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่จะต้องดำเนินการร่วมกันของชาวจังหวัดสมุทรปราการก็คือ การบำบัดขยะด้วยโรงงานบำบัดขยะ เนื่องจาก ที่ผ่านมาเราใช้วิธีการฝังกลบและกองรวมกัน ซึ่งยังไม่ถูกสุขลักษณะ คาดว่า 3-5 ปีขยะจะล้นเมือง อันเป็นการสร้างปัญหาให้กับพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปก็คือ การที่จะสร้างโรงงานเผาขยะ เพื่อให้ลดจำนวนขยะที่มีแต่ละวัน อันจะทำให้ขยะลดจำนวนลงประมาณ 5-10%ของจำนวนทั้งหมด สรุปว่าถ้าเราสามารถบำบัดขยะได้ คิดว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาขยะนั้นสามารถดำเนินการไปตามเป้าหมายในระดับหนึ่ง และยังเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรปราการต่อไปอีกด้วย

ด้านนายสมชาย เลิศวิเศษธีรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายพัฒนาธุรกิจ บริษัทโปรเฟสชั่นแนลเวสต์ เทคโนโลยี(1999)จำกัด(มหาชน) และกรรมการผู้จัดการบริษัทโปร-ซีมีเลีย อีดับเบิ้ลยูอาร์จำกัด กล่าวว่า การสร้างเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันนั้น เป็นการพัฒนาโดยคนไทย 100% และใช้วัสดุในประเทศทั้งหมดโดยจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับเทศบาลนครสมุทรปราการ ได้ช่วยกันผลักดันโครงการดังกล่าว และร่วมกันศึกษาและพัฒนาการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื่อเพลิง โดยได้พัฒนารูปแบบและวิธีการกำจัดขยะพลาสติกต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบของน้ำมันเชื้อเพลิง

โดยปัจจุบันได้นำขยะพลาสติก จากการที่นำไปฝังกลบ มาทำความสะอาด จากนั้นทำการบดพลาสติก และควบคุมความชื้น จนถึงกระบวนการแปรรูปขยะ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งถือเป็นเครื่องจักรที่ได้ร ับการพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ และสามารถผลิตได้วันละ 10 ตันได้สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทยและของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการพัฒนาโดยทีมวิศวกรและนักบริหารจัดการด้วยคนไทยทั้งสิ้น และสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้วันละ4,500-8,000ลิตร/ เครื่องโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีราคาสูงกว่า 5-10 เท่าของราคาตลาด

โดยน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวสามารถนำไปขายให้กับโรงกลั่นน้ำมัน ภายในประเทศเป็นรูปแบบ light crude oil หรือนำไปผสมระหว่างกระบวนการผลิตโดยตรง เป็นการลดประมาณนำเข้าจากต่างประเทศ ได้อีกทางหนึ่ง โดยเครื่องจักรดังกล่าวสามารถผลิตน้ำมันได้ปีละประมาณ 1,872,000-3,120,000 ลิตร/ปี คิดเป็นมูลค่าราคาน้ำมันดิบโดยประมาณ 51-85ล้านบาท/เครื่อง/ปี

“การพัฒนาพลังงานทดแทนขากขยะพลาสติก โดยการแปรรูปเป็นน้ำมันนั้น นับว่าเป็นการสร้างมูลค่าอย่างสูง จากการให้บริการกำจัด และบำบัดขยะพลาสติกประเภทต่างๆ อีกทั้งยังสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากมีปริมาณขยะนับล้านล้านตัน ที่ฝังกลบอยู่ เป็นแหล่งวัตถุดิบ ที่มั่นคงระยะยาว รวมกับปริมาณขยะชุมชนของประเทศไทยวันละ ประมาณ 43,000ตัน โดยจะมีขยะพลาสติกเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ 4,300-6,450 ตันต่อวัน จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่เพิ่มเติมได้อย่างไม่มีวันหมด และเครื่องจักรดังกล่าว สามารถติดตั้งและดำเนินการได้ในทุกท้องถิ่น และน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นสามารถนำไปใช้กับ เครื่องปั่นไฟฟ้า เครื่องจักรกลหนัก เรือขนานยนต์ และเครื่องจักรทางการเกษตรได้ โดยตรง ทั้งนี้ทางบริษัทได้ทำการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เตาเผาขยะผลิตเชื้อเพลิงไว้เรียบร้อยแล้ว” รองกรรมการผู้จัดการฯกล่าว

spy3950
09-08-2008, 21:36
เดี๋ยว รบ. ก้อไม่ให้เดินหน้าหรอก เพราะ ขาย ปตท.แดกห่ากันอยู่

myjoefiend
28-09-2008, 08:55
สาธุ ขอให้สนับสนุนกันอย่างถึงที่สุดจริงๆเถอะครับ จะได้ช่วยลดขยะในประเทศได้อีกมากโขเลยที่เดียว เพื่อประเทศชาติ คิดดีทำดี คนไทยหนับหนุ่ครับ อย่าไปสนใจพวกท่เห็นประโยชน์ตัวเองมากกว่าประเทศชาติครับ สู้ๆ กระทรวงพลังงาน และคนไทยที่มีจิตใต้สำนึกดีๆไม่ทิ้งขยะไม่เลือกที่ (พอฝนตกน้ำท่วมน้ำเน่าก็กรรมตามสนอง 555 ซวยกันถ้วนหน้าแบบเห็นๆ แล้วน้ำท่วมรอบนี้จะจำกันมั้ยละเนี่ย)

tukatuka
28-09-2008, 10:51
คิดว่าเป็นได้แค่ทางเชิงวิชาการ แต่ในทางปฏิบัติคงจะยากนะ ต้นทุนการผลิตคงจะสูงมาก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ในทางวิชาการมันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ คิดแล้วก็ยังกลุ้มใจอยู่ดี ถ้ามีการสนับสนุนในโครงการแบบนี้เพราะงบประมาณคงจะถูกผลาญไปอีกไม่น้อยกว่าพันล้านบาทแต่ผลที่ได้รับเพียงน้อยนิด (คิดแบบพ่อค้ามือใหม่ที่มีทุนลงทุนกิจการเล็กๆ) เอางบประมาณไปพัฒนาการศึกษาทางด้านอื่นจะดีกว่ามัย:kapook-17193-7653:

Aong_Chelsea
25-02-2011, 14:09
ไปขุดมาครับ ผมกำลังทำโครงการนี้อยู่ อิอิ แต่ตอนนี้มันเปลืองแก็สมากไปครับ ตอนนี้ขั้นทดลอง พลากติก 100 โ ได้น้ำรวมน้ำมันที่65-80 ลิตร ครับ แต่หมดแก็สไป48โล หุหุ

iGnUs
25-02-2011, 15:14
เอามาทำ scale เล็กๆบ้างได้ไหมครับน้าอ๋อง

Aong_Chelsea
26-02-2011, 09:03
เอามาทำ scale เล็กๆบ้างได้ไหมครับน้าอ๋อง


ตอนนี้กำลังเจาะข้อมูลเบื้องลึกครับ น้าหิน คือต้องควบคุม อุณภูมิ ให้ได้ครับ ตอนนี้ผมได้น้ำมันดีเซลผสมกับเบนซิลแล้วครับย น้ำมันออกมาดีกว่าที่คิดไว้เยอะเลยครับ เดวได้ผลยังไงเดวจะมารายงานให้ทราบครับ อิอิ