สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

กระทู้: โปรดใช้วิจารณญาณ อุกาบาตพุ่งชนโลก

  1. #1
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Dec 2012
    User ID
    42064
    Status
    Offline
    โพส
    484

    มาตรฐาน โปรดใช้วิจารณญาณ อุกาบาตพุ่งชนโลก



    จากข้อมูล องค์การการบินและอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกา (นาซา) บอกว่า มีความเป็นไปได้ที่ อุกาบาตเอจี 5ขนาดความกว้าง 460 ฟุต หรือ 140 เมตรจะพุ่งชนโลกในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2583 ซึ่งอาจจะทำให้เกิดวิบัติภัยร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก หรือที่เรียกว่า “ วันสิ้นโลก “ จากการประเมิณของ นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซา หาก อุกาบาตเอจี 5 นี้พุ่งชนสถานที่ชุมชนบนพื้นโลก จะทำให้มีการเสียชีวิตผู้คนนับล้านและมนุษย์ส่วนใหญ่ จะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้บนโลกใบนี้
    รายละเอียด 2583 อุกาบาตเอจี 5 ชนโลก

    หน่วยปฏิบัติการวัตถุใกล้โลก ยูเอ็น ติดตามความเคลื่อนไหวและ หาวิธีเบี่ยงเบนวงโคจรของ ของ อุกาบาตเอจี 5 ตั้งแต่ปี 2554
    มีความเป็นไปได้ 1 ใน 625 ที่ อุกาบาตเอจี 5 จะพุ่งชนโลกใน 30 ปีข้างหน้า
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ในช่วงปี 2556-2559 จะสามารถตรวจสอบติดตามความเคลื่อนไหวของ อุกกาบาตเอจี 5 ได้มากขึ้น เพื่อประเมินและป้องกันวิบัติภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นจาก อุกาบาตเอจี 5 นี้
    คาดว่า อุกาบาตเอจี 5 พุ่งชนโลกก่อนปี 2566 ซึ่งเป็นช่วงที่ อุกาบาตเอจี 5 จะโคจรเฉียดโลกมากที่สุดก่อนที่จะเปลี่ยนวิถีโคจรพุ่งชนโลกในที่สุด
    อุกาบาตเอจี 5 มีขนาดกลาง ที่มีความกว้างระหว่าง 110 เมตรถึง 1,100 เมตร ประมาณ 19,000 ดวงโคจรในระยะ 192 ล้านกิโลเมตรรอบโลก
    ในเวลานี้ อุกาบาตเอจี 5 โคจรห่างจากโลกประมาณ 0.02 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 2.976 ล้านกิโลเมตร
    ปี 2579 อุกาบาตอะโพฟิส ที่มีขนาดความกว้างเท่ากับสนามฟุตบอลสองสนาม จะโคจรเฉียดใกล้โลกที่ระยะห่าง 2.92 หมื่นกิโลเมตร สามารถมองเห็นได้ในพื้่นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป แอฟริกา และ เอเชีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะได้โอกาสศึกษา
    ข้อมูลจาก ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนพลังเจ็ท (เจพีแอล) ของ นาซา ประเมินว่าวิธีการที่ดีที่สุด ที่จะเบี่ยงเบนวงโคจรของ อุกาบาตเอจี 5 นี้คือ การใช้ยานอวกาศผลักดันให้ อุกาบาตเอจี 5 ออกไปห่างจากโลกอีกหลายล้านปีแสง ส่วนทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ การใช้ยานอวกาศพุ่งชน อุกาบาตเอจี 5 เพื่อให้ผลในลักษณะเดียวกัน หรือ ใช้หัวรบนิวเคลียร์ ยิงทำลาย อุกาบาตเอจี 5 อีกด้วย แต่ก็สรุปว่า วิธีดังกล่าวจะทำให้อุกาบาตแตกออกเป็นเสี่ยงๆกระจายตัวออกไป ซึ่งอาจจะควบคุมวิถีโคจรได้ยาก
    นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า อุกาบาตเอจี 5 มีขนาดเล็กกว่า อุกาบาตที่พุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นมีขนาดความกว้าง 14.4 กิโลเมตร พุ่งชนโลกด้วยความเร็วกว่า 20 เท่าของกระสุน ความแรงของการพุ่งชนก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์ ทั้งยัง กระตุ้นให้ภูเขาไฟเหลือคนานับ ปะทุขึ้นพร้อมๆกัน พ่นเถ้าถ่านขึ้นปกคลุมชั้นบรรยากาศจนแสงอาทิตย์ไม่สามารถผ่านลงมาได้ ทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสง และส่งผลให้ไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นขาดแคลนอาหารจนสุญพันธุ์ในที่ สุด

    ที่มาเนื้อหาและภาพประกอบ : postjung.com

    หมายเหตุ : กว่าจะถึง ณ วันนั้น ผมคงไปนอนคุยกะรากมะม่วงไปแล้วมั้งครับ อีกตั้ง สามสิบปี

  2. #2
    TTC-02748 TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Apr 2011
    User ID
    17299
    Status
    Offline
    โพส
    984

    มาตรฐาน ตอบ: โปรดใช้วิจารณญาณ อุกาบาตพุ่งชนโลก

    ก้อไม่นานนะคับ....สำหรับผม
    รอดูกันต่อไป..........

  3. #3
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Jul 2008
    User ID
    3215
    Status
    Offline
    โพส
    3,688

    มาตรฐาน ตอบ: โปรดใช้วิจารณญาณ อุกาบาตพุ่งชนโลก

    นานเกิน คงไม่รอดูหรอก แต่ก็สบายใจได้ถึงเวลานั้นก็ผ่อนบ้าน รถ หมดไปแล้ว

  4. #4
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Nov 2012
    User ID
    40862
    Status
    Offline
    โพส
    2,705

    มาตรฐาน ตอบ: โปรดใช้วิจารณญาณ อุกาบาตพุ่งชนโลก

    แล้วที่ยังหาไม่เจออีกกี่ดวงก็ไม่รู้ ขนาดที่รัสเซียก็ไม่มีใครเจอเลย น่ากลัวจริงๆครับ

  5. #5
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Feb 2012
    User ID
    30360
    Status
    Offline
    โพส
    3,722

    มาตรฐาน ตอบ: โปรดใช้วิจารณญาณ อุกาบาตพุ่งชนโลก

    ถึงเวลานั้นจริงๆ คงมีวิธีจัดการกะมันได้แล้วละครับ

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

Bookmarks

กฎการโพสข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
  •  
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • [VIDEO] code is เปิด
  • HTML สถานะ ปิด