หน้า 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 20 จากทั้งหมด 25

กระทู้: พระพิฆเนศวร์

  1. #1
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน พระพิฆเนศวร์

    หลายๆท่านได้มีโอกาสไปสักการะบูชาและขอพรจาก พระพิฆเนศวร์
    เชื่อว่ามีไม่น้อยที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับ พระพิฆเนศ ว่ามีตำนานเล่าขานกันว่าอย่างไร
    จึงได้สืบค้นนำมาให้อ่านเล่น ประกอบภาพถ่ายกันเพลินๆ
    ตามมาเลย ... ครับชื่อ:  1603.jpg
ครั้ง: 896
ขนาด:  177.3 กิโลไบต์

  2. #2
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    พระพิฆเนศวร์
    เทพเจ้าของฮินดู
    เป็นโอรสของพระศิวะ มีกายเป็นมนุษย์ เศียรเป็นช้าง

    เป็นเทพที่นิยมบูชากันมากที่สุดในบรรดาเทพฮินดูทั้งหลาย
    เนื่องจากพระองค์เป็นเทพผู้ขจัดความขัดข้องและเป็นผู้อำนวยความสำเร็จให้แก่กิจการทั้งปวง

    ชาวอินเดียเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา
    หรือศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาจะต้องบูชาพระพิฆเนศวรร์เสียก่อนเพื่อขอความสำเร็จในกิจการนั้น ๆ

    การนับถือพระพิฆเนศวร์ ในประเทศอินเดียเริ่มปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัยปุราณะ (ประมาณ พ.ศ. 861-1190)
    มีผู้สันนิษฐานว่ามีกำเนิดมาจากการเป็นเทพพื้นเมืองของชาวอินเดีย
    ซึ่งมีการบูชาสัตว์เป็นลัทธิพื้นเมืองดั้งเดิม
    มีการบูชาเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ต่าง ๆ เป็นเทพประจำเผ่า
    และเนื่องจากช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย

    พระพิฒเนศว์ที่มีเศียรเป็นช้างจึงได้รับยกย่องเป็นหัวหน้าของเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ทั้งหลายชื่อ:  1606.jpg
ครั้ง: 628
ขนาด:  162.3 กิโลไบต์

  3. #3
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ประวัติของพระพิฆเนศวร์
    ตามเทพนิยายในคัมภีร์ทางศาสนา
    มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ปุราณะซึ่งเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเทพและเทพี
    มีทั้งสิ้น 18 เล่ม
    โดยกล่าวถึงกำเนิดและประวัติของพระพิฆเนศวร์แตกต่างกันไป

    แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน คือมีกำเนิดมาในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค

    ดังเช่นที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ศิวปุราณะ (Sivapurana) ตอนหนึ่งว่า

    “ครั้งหนึ่ง ชยาและวิชยาพระสหายของพระนางปารวาตี
    ได้แนะนำพระนางว่าแม้พระนางจะมีนนทิ (Nandi) ภฤิงคิ (Bhringi) และบริวารอื่น ๆ ของศิวะแล้ว
    แต่ถ้าพระนางจะมีคนรับใช้ของพระนางเองก็จะดียิ่งขึ้น พระนางก็เห็นด้วย

    ครั้งหนึ่ง เมื่อพระนางกำลังสรงน้ำอยู่ก็นึกถึงคำเตือนของพระสหาย
    จึงนำเหงื่อไคลจากพระฉวีมาสร้างเป็นบุรุษรูปงาม
    และสั่งให้เฝ้าอยู่หน้าประตูห้ามมิให้ใครเข้ามาโดยมิได้รับอนุญาต

    วันหนึ่งพระศิวะได้เสด็จมายังที่ประทับของพระนางปารวตี
    พระคเณศจึงได้ขัดขวางได้อย่างแข็งขัน

    พระศิวะทรงพระพิโรธอย่างหนัก ทรงสั่งให้ ภูต – คณะ ของพระองค์สังหารทวารบาลนั้น
    แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ แม้กระทั่งพระวิษณุสุพรหมณยะ

    พระนางปารตีทรงส่งเทพยาดา 2 องค์มาช่วย

    พระวิษณุจึงใช้อุบาย และสามารถตัดเศียรพระคเณศได้
    พระนางปารวดีทรงพระพิโรธมาก
    ส่งเทพยดาจำนวนมากไปก่อกวนจนเกิดเรื่องใหญ่
    จนฤษีนารทะต้องมาห้ามอ้อนวอนขอให้รพระนางสงบศึก
    พระนางสัญญาว่าถ้าพระโอรสของพระนางฟื้นคืนชีพขึ้นมานางจะหยุดทันที

    พระศิวะจึงสั่งให้เทวดาเดินทางไปทางทิศเหนือ
    ไปนำศรีษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อให้กับพระโอรสของพระนางปารวตี
    เทวดาได้นำศรีษะของช้างมาต่อเข้ากับศอของพระคเณศ

    ช้างที่นำมานั้นมีงาข้างเดียว พระคเณศจังได้นามว่า คชานนะ แปลว่ามีหน้าเป็นช้าง
    และ เอกทันตะ แปลว่ามีงาข้างเดียว

    เมื่อฟื้นขึ้นมาพระคเณศได้ขอโทษต่อพระศิวะและเทวดาอื่น ๆ
    ทำให้พระศิวะพอใจ ประสาทพรให้พระคเณศมีอำนาจเหนือภูติผีทั้งหลาย แต่งตั้งให้เป็นคณปติ (ผู้มีอำนาจ – ผู้ยิ่งใหญ่)
    ด้วยเหตุนี้พระคเณศจึงได้รับนามใหม่อีกหลายนาม
    คือ คชานนะ, เอกทันตะ, และคณปติ”ชื่อ:  1598.jpg
ครั้ง: 658
ขนาด:  300.3 กิโลไบต์

  4. #4
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    พระพิฆเนศวร์ บรมครูช้างผู้ยิ่งใหญ่
    สำหรับในประเทศไทยนั้น
    ส่วนใหญ่จะรู้จักพระพิฆเนศวร์ ในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยา
    และในฐานะบรมครูช้าง
    ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากบนความคิดดั้งเดิม คือ เป็นเทพแห่งอุปสรรค และความสำเร็จทั้งปวงนั่นเอง
    ได้ปรากฏหลักฐานทางเอกสารและโบราณคดีเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์
    ในฐานะบรมครูช้างมาตั้งแต่สมัยแรกที่ไทยเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้แล้วชื่อ:  1640.jpg
ครั้ง: 625
ขนาด:  268.2 กิโลไบต์

  5. #5
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    พระพิฆเนศวร์ ในฐานะบรมครูช้าง
    หรือที่เรียกว่า พระเทวกรรม นั้นเป็นเทวรูปสำคัญของผู้ที่ศึกษาวิชาคชศาสตร์
    หรือที่เรียกว่า “ตำราช้าง”

    ซึ่งไทยรับมาจากอินเดียต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต แบ่งได้เป็น 2 คัมภีร์

    คือ ตำราคชลักษณ์ กล่าวถึงลักษณะของช้างให้รู้ว่าช้างดี-เลว ต่างกันอย่างไร

    อีกคัมภีร์หนึ่ง คือตำราคชกรรม
    สอนวิธีหัดช้างเถื่อน และวิธีหัดขี่ช้าง
    รวมทั้งมนต์สำหรับบังคับช้าง และระเบียบพิธีต่าง ๆ

    ซึ่งทำให้เกิดสิริมงคลและบำบัดเสนียดในการที่เกี่ยวเนื่องกับช้าง
    การคชศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในไตรเพท

    ซึ่งพระมหากษัตริย์จะต้องทรงศึกษาเรียนรู้โดยมีพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาสู่ราชสำนัก

    ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยคงได้รับมาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัยแล้ว

    แม้จะไม่มีหลักฐานทางเอกสารระบุไว้แน่ชัดก็ตาม
    แต่ก็มีหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์
    และหลักฐานที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ทรงรอบรู้ในการคชศาสตร์เป็นอย่างดีชื่อ:  1614.jpg
ครั้ง: 507
ขนาด:  212.8 กิโลไบต์

  6. #6
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ชมภาพ ... พร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้กันไปน่ะครับชื่อ:  1607.jpg
ครั้ง: 523
ขนาด:  194.7 กิโลไบต์

  7. #7
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ภาพประกอบที่นำเสนอทั้งหมดจากอุทยานพระพิฆเนศวร์ จ.นครนายกชื่อ:  1615.jpg
ครั้ง: 2138
ขนาด:  293.1 กิโลไบต์

  8. #8
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ในสมัยอยุธยา
    การคชกรรมเฟื่องฟูหลายยุคหลายสมัย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)
    ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ถึงการที่พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อรูปพระพิฆเนศวร์
    และพระเทวกรรมหลายครั้งด้วยกัน เช่น

    “……….ในเดือนยี่ ปีวอกนั้น
    พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรเจ้าอยู่หัว บำเพ็ญพระราชกุศลนานาประการ
    แล้วให้หล่อพระรูปพระอิศวรเป็นเจ้า ยืนสูงศอกคืบมีเศษพระองค์หนึ่ง
    รูปพระศิวาทิตย์ ยืนสูงศอกมีเศษ พระองค์หนึ่ง รูปพระมหาวิฆเณศวร พระองค์หนึ่ง
    รูปพระจันทราทิศวร พระองค์หนึ่ง
    และรูปพระเจ้าทั้ง 4 พระองค์นี้ สวมทองนพคุณและเครื่องอาภรณ์ประดับนั้นถมยาราชาวดี ประดับแหวนทุกพระองค์
    ไว้บูชาสำหรับพระราชพิธี”

    และ “ ปีวอก อัฐศก นั้น ตรัสให้หล่อรูปพระเทวกรรม สูงประมาณศอกมีเศษ พระองค์หนึ่ง สวมทอง เครื่องประดับถมราชาวดี….”ชื่อ:  1596.jpg
ครั้ง: 506
ขนาด:  209.8 กิโลไบต์

  9. #9
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ครั้นปีระกา นพศก

    พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการตรัสสั่งพระยาจักรี
    ให้แต่งโรงพิธีบัญชีพรหม กรมพระคชบาลสำหรับพระราชพิธีทั้งปวงในทะเลหญ้า ตำบลเพนียด

    และทรงพระกรุณาตรัสให้หล่อพระเทวกรรมทอง ยืน สูงหนึ่งศอก หุ้มด้วยเนื้อเจ็ด แล้ว
    และเครื่องอาภรณ์นั้นถมราชาวดีประดับด้วยแหวน ไว้สำหรับการพระราชพิธีคชกรรม

    ให้พระมหาราชครู พระราชครู และพฤฒิบาศ
    และปลัดพระราชครูประกอบการพระราชพิธีบัญชีพรหม
    ในวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7

    จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จยังการพระราชพิธีมหาปรายาจิตร
    แล้วพระราชพิธีบัญชีพรหมทะเลหญ้า ก็ประพฤติการพระราชพิธีสารตำรับอันมีในคชกรรมนั้นทุกประการ

    “แล้วก็ตรัสให้หล่อพระบรมกรรมพระองค์หนึ่งสูง 4 ศอก หลักฐาน
    แล้ว อภิเษกเสร็จก็ให้รับไปประดิษฐานไว้ในพระอารามพระศรีรุทรนาถ ตำบลชีกุล
    และตรัสให้หล่อพระเทวกรรมองค์หนึ่งสูงประมาณ 4 ศอก ไว้ในหอพระเทวกรรม..”ชื่อ:  1626.jpg
ครั้ง: 603
ขนาด:  304.0 กิโลไบต์

  10. #10
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2011
    User ID
    22808
    Status
    Offline
    โพส
    301

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ปาดๆๆๆๆ
    โอม...พระพิฆเนศวร สิทธิ ประสิทธิเม มหาลาโภ ทุติยัมปิ
    ...พระพิฆเณศวร สิทธิ ประสิทธิเม มหาลาโภตะติยัมปิ
    ...พระพิฆเณศวร สิทธิ ประสิทธิเม มหาลาโภ
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลและรูปสวยๆครับ.....เคยไปสักการะสวยงามครับ

  11. #11
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    หลักฐานทางโบราณคดีสมัยอยุธยาที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง
    คือประติมากรรมรูป พระพิฆเนศวร์บนด้ามมีดของหมอช้างที่ใช้ในการประกอบพิธีเกี่ยวกับช้าง
    เพราะพระพิฆเนศวร์ (พระเทวกรรม) เป็นเทวรูปสำคัญของผู้มีหน้าที่เป็นคชบาล
    เป็น “พระ” ของกรมช้างได้เคารพนับถือกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

    ตามตำนานกล่าวว่า “ ผู้มีตำแหน่งเป็นครู อาจารย์ ในทางคชกรรมต้องมี “พระคเณศ”
    ซึ่งแกะด้วยงาช้างตระกูลพิฆเนศวรมหาไพฑูรย์ไว้บูชา (ช้างในตระกูลอัคนิพงศ์)
    ขณะใดไปแขกโพนช้างเถื่อนก็นำเอาไปกับตัวอย่างเครื่องรางด้วย
    บางคนใช้งาช้างตระกูลนั้นแกะเป็น “พระคเณศ”
    ที่ด้ามมีดไว้สำหรับใช้เป็นอาวุธประจำตัวในขณะไปทำการคล้องช้าง”
    แต่ ในกรณีนี้ทำด้วยสำริด พบที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แม้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์
    และพระเทวกรรมค่อนข้างสับสน
    แต่ก็ยังปรากฏหลักฐานการกล่าวถึง พระพิฆเนศวร์และพระเทวกรรมในวรรณกรรมต่าง ๆ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมที่เกี่ยวช้าง ได้แก่ฉันท์ ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง
    ซึ่งเป็นฉันท์ที่ใช้สวดในงานพิธีสมโภชพระยาช้าง
    การกล่อมช้างนี้เข้าใจว่าเป็นพิธีที่เราได้มาจากเขมร
    และเขมรได้มาจากพราหมณ์อีกทอดหนึ่ง
    คำประพันธ์ประเภทนี้ยังคงใช้กันอยู่แม้กระทั่งในปัจจุบันชื่อ:  1628.jpg
ครั้ง: 498
ขนาด:  233.9 กิโลไบต์

  12. #12
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ในสมัยรัชการที่ 6 พระองค์ทรงสนพระทัยในภารตวิทยาเป็นพิเศษ
    จึงทรงเข้าพระทัยประวัติความเป็นมาของพระพิฆเนศวร์ได้อย่างถูกต้อง
    วรรณกรรมต่าง ๆ ในสมัยนี้มักมีบทบูชาพระพิฆเนศวร์ ในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค และเทพแห่งศิลปวิทยา
    แต่ขณะเดียวกันก็มีการกล่าวถึงพระพิฆเนศวร์ในฐานะบรมครูด้วย
    เช่น จากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตอนหนึ่ง
    ในบทละครเรื่องสามัคคีเสวก ตอนกรีนิรมิต (พระคเณศวรเสียงา)
    ทรงกล่าวถึงพระพิฆเนศวรในฐานะบรมครูช้างผู้ใหญ่
    ดังนี้……..
    “อนึ่งพระพิฆเณศเดชอุดม เป็นบรมครูช้างผู้ใหญ่
    เธอสร้างสรรพกะรีที่ในไพร เพื่อให้เป็นสง่าแก่ชาตรี
    สร้างสารแปดตระกูลพูนสวัสดิ์ ประจงจัดสรรพางค์ต่างต่างสี
    แบ่งปันคณะอัฎฐะกะรี ประจำที่อัฏฐทิสสถาพร”
    ชื่อ:  1643.jpg
ครั้ง: 494
ขนาด:  243.7 กิโลไบต์

  13. #13
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ในปัจจุบัน
    เรารู้จักพระพิฆเนศวร์กันอย่างแพร่หลาย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะบรมครูช้าง
    ทั้งนี้เนื่องจากพระพิฆเนศว์มีบทบาทอย่างสำคัญในกิจพิธีเกี่ยวกับการสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก

    เริ่มตั้งแต่ในพิธีจับเชิงจนถึงพระราชพิธีน้อมเกล้า ฯ ถวายและขึ้นระวางสมโภช
    ซึ่งพราหมณ์จะอัญเชิญพระเทวกรรมเข้าพิธีด้วย
    กล่าวสรุปได้ว่า พระพิฆเนศวร์ ในฐานะบรมครูช้าง
    หรือที่รู้จักกันในนามของ
    “พระเทวกรรม”
    เป็นแนวความคิดที่แพร่หลายในสมัยอยุธยา

    เมื่อการคชศาสตร์เป็นที่นิยมในราชสำนัก
    ความจริงแล้วเราได้พบหลักฐานเกี่ยวกับการคชศาสตร์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
    ดังปรากฏจากหลักฐานทางเอกสาร แม้จะไม่มีการกล่าวถึง “พระเทวกรรม” อย่างเด่นชัด

    แต่เมื่อมีการคชศาสตร์เกิดขึ้น ก็ต้องมีการบูชาพระเทว-กรรมควบคู่กันด้วย
    การคชศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในไตรเพท
    ซึ่งพระมหากษัตริย์ (ผู้เป็นนักรบ - ตามชั้นวรรณะ) จะต้องทรงศึกษาเรียนรู้
    โดยมีพราหมณ์เป็นผู้นำเข้าสู่ราชสำนัก

    พราหมณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพรหมณ์ที่มาจากเขมรมากกว่าเป็นพราหมณ์ที่มาจากอินเดีย
    ในสมัยอยุธยานั้นมีการกล่าวถึงพระเทวกรรมอย่างชัดเจน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาพรหมณ์เฟื่องฟุ

    ในพงศาวดารกล่าวถึงการหล่อรูปเคารพพระพิฆเนศวร์ และพระเทวกรรม
    แสดงให้เห็นว่าในสมัยนี้พระคเณศวรปรากฏฐานะแยกเป็น 2 รูปแบบอย่างชัดเจน
    คือ “พระวิฆเณศวร” เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ผู้ขจัดอุปสรรค และ “พระเทวกรรม” เทพในฐานะครูช้างชื่อ:  1645.jpg
ครั้ง: 788
ขนาด:  277.6 กิโลไบต์

  14. #14
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    จากหลักฐานทางโบราณคดี
    เราได้พบรูปเคารพ “พระเทวกรรม” ปรากฏบนด้ามมีด

    ซึ่งเชื่อว่าเป็นมีดสำหรับหมอช้าง
    เป็นของในสมัยอยุธยา

    นอกจากนี้ยังพบรูปเคารพพระคเณศขนาดเล็ก
    ซึ่งได้รับคำบอกเล่าว่าเป็นพระคเณศที่ใช้ในการประกอบอาชีพและประกอบพิธีเกี่ยวกับช้าง

    นั้นก็คงหมายถึงพระคเณศวร์ในนามของ “พระเทวกรรม” นั่นเอง
    ลักษณะนี้จะปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งในด้านวรรณกรรม
    และพิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง
    ชื่อ:  1654.jpg
ครั้ง: 544
ขนาด:  177.1 กิโลไบต์

  15. #15
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจาก

    หนังสือที่ระลึก สำหรับแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ จมื่นสิริวังรัต (เฉลิม คชาชีวะ)
    10 ตุลาคม 2528 หน้า 1-5
    ที่มา : มูลนิธิคชบาลชื่อ:  1648.jpg
ครั้ง: 479
ขนาด:  191.1 กิโลไบต์

  16. #16
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ... ครับ ข้อความอาจเยอะไปนิดอยากให้สมาชิก Triton Club รอบรู้มากกว่าใครๆหรือจะเลือกชมแต่ภาพประกอบก็ตามอัธยาศรัยเพื่อการพักผ่อนหลังภารกิจการงานประจำวัน ... ครับชื่อ:  1663.jpg
ครั้ง: 472
ขนาด:  188.7 กิโลไบต์

  17. #17
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ปล. ข้อสังเกตุ

    พระพิฆเนศวร์ ในตำนานที่ถูกต้อง
    เศียรเป็นช้างและต้องมีงาซ้ายข้างเดียว
    น่ะ ... จะบอกให้ชื่อ:  1655.jpg
ครั้ง: 2098
ขนาด:  283.9 กิโลไบต์

  18. #18
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2011
    User ID
    22808
    Status
    Offline
    โพส
    301

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    เหมือนน้าจะหายไปจากห้องภาพนานเหมือนกันครับหรือผมไม่ค่อยได้เข้ามาดูก็ไม่รู้....ผมเคยดูรูปที่น้าถ่ายมาลงสวยงามมากครับ.....ขอบคุณที่แบ่งปันกันชมครับ

  19. #19
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    May 2010
    User ID
    11887
    Status
    Offline
    โพส
    882

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    wj3932 ... ขอบคุณที่เยี่ยมชม ผมชอบถ่ายภาพ เป็นงานอดิเรก เพื่อการผ่อนคลาย ถ้าไม่ติดภารกิจ ว่างเมื่อไร ก็ชอบที่จะนำภาพถ่ายมาแบ่งปัน ติชมได้ตามสบายน่ะครับชื่อ:  1653.jpg
ครั้ง: 423
ขนาด:  194.3 กิโลไบต์

  20. #20
    สมาชิกถาวร TTC-Member
    สมัครเมื่อ
    Mar 2013
    User ID
    44704
    Status
    Offline
    โพส
    1,091

    มาตรฐาน ตอบ: พระพิฆเนศวร์

    ภาพสวยครับน้า
    แอบมาแปดริ้วก็ไม่บอก

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

Bookmarks

กฎการโพสข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
  •  
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • [VIDEO] code is เปิด
  • HTML สถานะ ปิด